วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ไทมส์" จัดอันดับผู้นำโลกที่ทรงอิทธิพลและสูงอายุที่สุด

 




อันดับ 10. "ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี"
ตำแหน่ง: นายกรัฐมนตรีอิตาลีอายุ: 74ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 8 ปี
แบร์ลุสโคนี เป็นหนึ่งในผู้นำ กลุ่มประเทศยุโรปที่มีข่าวอื้อฉาวมากที่สุด อดีตนักธุรกิจ และเจ้าแห่งวงการสื่อผู้นี้ ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพตั้งแต่ปี 1994 และติดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 51 ประจำปี 2010 จากการจัดอันดับของฟอร์บส์ โดยมีทรัพย์สินรวมทั้งหมด 11,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ349,040ล้านบาท) และยังเป็นผู้นำกลุ่มประเทศ จี 8 ยาวนานที่สุด ถนนสายการเมืองของ แบร์ลุสโคนี เต็มไปด้วยข้อครหาเกี่ยวกับเรื่องชู้สาว กับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ นับตั้งแต่คบค้าสมาคมกับแก๊งมาเฟีย แต่ทั้งนี้ เสียงส่วนใหญ่ในคณะรัฐบาลอิตาลี ก็ยังยืนหยัดอยู่ข้างเขา ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ แบร์ลุสโคนี  กล่าวคำปราศรัยเมื่อปีที่แล้วที่ว่า "ประชาชนต้องการผมในแบบที่ผมเป็น คนอิตาลียังคงต้องการผม"



อันดับ 9. "ตาน ฉ่วย"
ตำแหน่ง: ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐพม่าอายุ: 77 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 18 ปี
ตาน ฉ่วย เคยเป็นพนักงานไปรษณี ก่อนเข้าร่วมกองทัพในปี 1953 หลังจากที่ทหารเข้ายึดอำนาจจากการก่อรัฐประหารในอีก 9 ปีต่อมา เขาเริ่มทำงานหนักเพื่อหาโอกาศก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน จนในที่สุดก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในสถาบันรัฐศาสตร์ส่วนกลาง เขาอยู่รอดจากการกวาดล้างภายในของรัฐ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำรัฐบาลแทนที่นายซอว์ เมือง ในปี 1992 เมื่อตาน ฉ่วย ได้รับอำนาจก็มีการคาดการล่วงหน้าว่า เขาจะมีความเป็นกลางมากพอ แต่การปฏิรูปประชาธิปไตยที่หลายคนหวังก็ไม่เกิดขึ้น ตาน ฉ่วย ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมหารือกับผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยของประเทศอย่าง นาง ออง ซาน ซู จี ซึ่งถูกกักบริเวณตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 1989 ระบบการปกครองอันโหดร้ายของเขา พังทลายลงจากการประท้วงของกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนมากในปี 2007 ทำให้ต้องย้ายที่อยู่จากย่างกุ้งเมืองหลวงของประเทศ ไปอยู่ในสถานที่ลับที่ซ่อนอยู่ภายในประเทศ ตาน ฉ่วย ไม่ค่อยปรากฏตัวต่อหน้าสาธรณชนนัก มีข่าวลือว่าสุขภาพของเขาเริ่มย่ำแย่ลงเมื่อเขาเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อรักษาอาการป่วยอย่างลับๆ




อันดับ 8. "มานโมฮัน ซิงห์"
ตำแหน่ง: นายกรัฐมนตรีอินเดียอายุ: 78 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 6 ปี
ซิงห์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปันจาบ และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ภายหลักได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เขาเป็นผู้นับถือศาสนาซิกห์คนแรก ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ในปีนี้ ไทมส์ จัดให้เขาติด 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก และนิวส์วีคก็จัดให้เขาอยู่ในทำเนียบ 10 ผู้นำที่น่าเคารพที่สุดขนานนาม ว่า "ผู้นำที่ผู้นำคนอื่นเคารพรัก" เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งในปี 2004 ได้ผลักดันการเปิดเสรีในบางรัฐ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และสนับสนุนการลงทุนกับต่างชาติ การปฏิรูปต่างๆนี้ช่วยพัฒนาให้เศรษฐกิจเติบโต ในขณะที่ยังสามารถใช้กฎหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนหลายร้อยล้านในเขตชนบทยากจนในอินเดีย การเลือกตั้งเมื่อปีก่อนพรรคของเขาคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉัน แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า นายซิงห์สนิทชิดเชื้อกับวอชิงตันมากเกินไป และเหมือนตกเป็นข้ารับ เนห์รู-คานธี ของสภาคองเกรส






อันดับ 7. "มไว คีบาคี"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีเคนยาอายุ:  78 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 7 ปี
คีบาคี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเกเลเล ในอูกานดา ก่อนได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาจบการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดในชั้นเรียน เคยเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้เคนยา จากสหราชอาณาจักร ก่อนที่ประเทศจะได้รับอิสรภาพในปี 1963 ในปี 1974 นิตยสารไทม์ได้จัดให้เขาเป็น 1 ใน 100 บุคคล ที่มีศักยภาพความเป็นผู้นำสูงสุด เมื่อเขาชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอยในปี 2002 ได้ปฏิญาณว่า จะยุติปัญหาการทุจริตของรัฐบาลที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศย่ำแย่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2007 เขาก็ถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้ง และเกิดการประท้วงขึ้นทำให้มีเหตุรุนแรงบานปลายระหว่างกลุ่มชาติพันธ์หลายกลุ่มในเคนยา ไม่กี่เดือนหลังจากการเลือกตั้ง คีบาคี และไรลา โอดินกา หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ลงนามในการแบ่งอำนาจทำให้นายโอดินกาได้รับตำแหน่งใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี






อันดับ 6. "ราอูล คาสโทร"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีคิวบาอายุ: 79 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 4 ปี
ราอูล คาสโตร นับว่าทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของคิวบา เมื่อพี่ชายของเขา ฟิเดล คาสโตร ต้องเข้ารับการรักษาโรคกระเพาะอาหารรุนแรง ในปี 2008 หลังจากที่ ฟิเดล ประกาศว่า ไม่พร้อมที่จะรับการเลือกตั้งใหม่ ราอูลจึงถูกโหวดให้เป็นประธานาธิบดี ราอูล และภรรยานางวิลมา เอสปิน กิลโลอิส ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2007 และเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของคิวบา เป็นตัวแปรสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลอเมริกันที่เป็นมิตรประเทศ และแทนที่การปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ นำโดยนายฟิเดล ในช่วง 2-3 เดือนแรกของราอูล ในฐานะผู้นำเขาดำเนินการปฏิรูปต่าง ๆ รวมถึงเปิดกว้างสำหรับองค์กรเอกชนมากขึ้น ยกเลิกการจำจัดรายได้ และการอนุญาตให้ประชาชนคิวบามีโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ส่วนตัวได้ หลายคนคาดหวังการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากคาสโตรคนน้อง




อันดับ 5. "ฮุสนี มูบารัก"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีอียิปต์อายุ: 82 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 28 ปี
มูบารัก ได้รับอำนาจหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีคนก่อน โดยนายทหารฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกอียิปต์-อิสราเอล เขาปกครองภายใต้กฎหมายฉุกเฉินหรือ “ภาวะฉุกเฉิน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลสามารถจับกุมบุคคลได้โดยไม่ต้องมีข้อกล่าวหา ริบเงินของฝ่ายปรปักษ์ และยกเลิกการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ช่วงเวลาในการครองอำนาจของเขา เป็นที่จดจำจากการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับอื่น ๆ และการสร้างความสัมพันธ์ทางพลเรือนกับอิสราเอล เขาสนับสนุนคำขอของซาอุดีอาระเบียเรื่องการแทรกแซงของอเมริกัน เพื่อช่วยปลดปล่อยคูเวตจากการรุกรานของอิรักในปี 1990-91 และได้รับการช่วยเหลือทางการทหาร และการเงินอย่างมีนัยสำคัญจากวอชิงตัน ทั้งนี้นายมูบารักรอดจากการพยายามลอบสังหารถึง 6 ครั้งด้วยกัน




อันดับ 4. "อับดุลไร วัส"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีเซเนกัลอายุ: 84 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 10 ปี
วัส เฝ้าคอยมายาวนานเพื่อที่จะขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพ เขาลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1978 หลังจากไม่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 4 ในปี 1993 วัด ถูกจับกุมข้อหาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดการฆาตกรรมนายบาบาการ์ เซย์รองประธานที่ 1 ของศาลรัฐธรรมนูญ ปีถัดมาเขาถูกจับข้อหายุยงให้เกิดการก่อจลาจลต่อต้านรัฐบาล แต่ข้อกล่าวหาทั้งสองถูกยกฟ้อง ในที่สุดเขาก็ชนะการเลือกตั้งในปี 2000 และเป็นบุคคลแรกที่เลือกตั้งชนะพรรคสังคมนิยม ตั้งแต่การประกาศอิสรภาพของเซเนกัลเมื่อปี 1960 ก่อนที่เขาจะเป็นนักการเมืองนั้น เขาศึกษาทั้งในประเทศฝรั่งเศสและเซเนกัล โดนได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ จากซอร์บอนน์ แม้ว่าเขาจะเกิดในปี 1926 แต่สิทธิบางอย่างก็ยังเร็วเกินไป เมื่อต้นปี วัด ตกเป็นที่โจษจันของนานาชาติ กรณีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อาฟริกา เรเนสซอง ที่สูงถึง 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถูกวิจารณ์มากมายว่าเป็นการสิ้นเปลืองเงินทุนของรัฐบาล




อันดับ3. "เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์"
ตำแหน่ง: สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรอายุ: 84 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 58 ปี
แม้ว่าจะครองราชมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ก็ยังไม่สามารถทำลายสถิติการครองราชของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ซึ่งครองราชเป็นเวลายาวนานถึง 63 ปี กับอีก 7 เดือนได้ ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในจักรวรรดิของพระนาง ระหว่างปี 1956 และ 1992 กว่าครึ่งของราชอาณาจักรของพระนางได้กลายมาเป็นรัฐอิสระ พระนางได้พัฒนาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามยุคสมัย โดยอนุญาตให้เผยแพร่กิจวัตรของคนในราชวงศ์ได้เมื่อปี 1970




อันดับ 2. "โรเบิร์ต มูกาเบ"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีซิมบับเวอายุ: 86ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 30ปี
มูกาเบ ลูกชายของช่างไม้ประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่พบเจอบ่อยที่สุดในข่าวต่างประเทศยามค่ำคืน ในสมัยสงครามกลางเมืองที่ประเทศโรเดเซียน ซึ่งตอนนี้กลายเป็น ซิมบับเว แล้ว เขาเป็นผู้นำแนวหน้าของกลุ่มผู้รักชาติ เป็นกลุ่มต่อต้ากฎหมายเลือกปฏิบัติของรัฐบาลคนผิวขาว ในช่วงสิ้นสุดสงครามพรรค " ZANU-PF" ของมูกาเบ ชนะการเลือกตั้งรัฐสภา ภายใต้การดูแลของประเทศอังกฤษ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1980 อย่างไรก็ตาม มูกาเบ มักถูกเรียกว่า เป็นตัวสร้างความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง และในที่สุดก็ได้ออกกฎหมายพรรคเดียวขึ้นมาในประเทศของเขา และกลายเป็นประธานาธิบดีของซิมบับเวเมื่อปี 1987 โดยกฎหมายของเขา เป็นที่โด่งดังในการปราบปรามความรุนแรง จากปัญหาความยากจน และการว่างงานที่เพิ่มขึ้น เป็นการสนับสนุนให้นาย มอร์แกน สแวนจีราอี และพรรคฝ่ายค้านของเขามีโอกาศเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในปลายปี 2008 ได้มีข้อตกลงในการกระจายอำนาจจากการปกครองของมูกาเบ




อันดับ 1. "อับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอุด"
ตำแหน่ง: กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบียอายุ: 86 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 5 ปี
อับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอุด เป็นหัวหน้าของเฮาส์ออฟซาอุด ราชวงศ์ที่ใช้ชื่อของตนตั้งเป็นชื่อประเทศซาอุดีอาระเบีย พระองค์ทรงมีภรรยา 4 คน บุตรชาย 7 คน และบุตรสาวอีก 15 คน พระองค์ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศแห่งซาอุดิอาราเบียอีกด้วย พระองค์เป็นหนึ่งในผู้นำรัฐที่มั่งคั่งที่สุด ซึ่งพระองค์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังเป็นแนวหน้าของประเทศมุสลิมนิกายสุหนี่ ศูนย์บ่มเพาะผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ต่อมาพระองค์ทรงปฏิเสธการสนับสนุนการโจมตีอิรัก ภายใต้การนำทัพของสหรัฐฯ พระองค์มีความรับผิดชอบต่อวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ โดยเสนอความคิดริเริ่มเรื่องการอยู่ร่วมกันของประเทศมุสลิม และประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ต่อสมัชชาสหประชาชาติเพื่อคลายความตึงเครียด ทำความเข้าใจกับคนอิสลาม และลัทธิความรุนแรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ขอบคุณคะ