วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผู้นำและภาวะผู้นำคือ..?

 

             ผู้นำคือใคร?
              คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมสังคมมนุษย์จะต้องมีผู้นำ ไม่เพียงแค่มนุษย์แม้แต่สัตว์ก็ต่างมีผู้นำหรือที่เรารู้จักกันดีก็คือจ่าฝูงนั่นเอง คำที่เรียกแทนผู้นำนั้นมีหลายคำอย่างเช่น เจ้าป่า หัวหน้า ฯลฯ จะใช้คำแทนคำว่าผู้นำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่หรือสถานการณ์ 
                    เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การ
        
                   ผู้นำ หมายถึง
                    เพื่อให้เข้าใจภาวะผู้นำ (Leadership) และผู้นำ (Leader) ดีขึ้น นักวิชาการหลายท่านจึงให้ความหมายคำว่า "ผู้นำ" แตกต่างกันไป ดังนี้ 
McFarland (1979:214-215) ผู้นำ   คือ บุคคลที่มีความ สามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ที่ ตั้งไว้ 
Huse (1978:227) ผู้นำ   คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ  
Yukl, (1989:3-4) ผู้นำ   คือ บุคคลที่มีอิทธิพล
สูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตาม 


 สมพงษ์  เกษมสิน (2519)  การที่ผู้นำใช้อิทธิพลและอำนาจหน้าที่ในความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติและอำนวยการ
ฟาริดา   อิบราฮิม (2537)   เป็นการใช้อำนาจกับผู้อื่นให้เกิดการปฏิบัติเพื่อความริเริ่มของกลุ่ม   เกิดผลงานตามเป้าหมาย
พนิดา   ดามาพงษ์   (2535)  ให้ความหมายของผู้นำว่ามีหลายแบบ คือ 
           (1)  เป็นศิลปในการทำให้ผู้อื่นยอมตาม  ทำให้ผู้อื่นเกิดความประทับใจเชื่อฟังภักดีและเกิดความร่วมมือ  
           (2) เป็นการใช้อิทธิพลทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดความร่วมมือไปสู่จุดมุ่งหมาย   
           (3) เป็นรูปแบบของการชักจูงใจให้ยอมทำตามโดยสมัครใจหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ยอมรับ และ
     (4)   เป็นผลของการมีปฏิสัมพันธ์มีการกระตุ้นซึ่งกันและกันเพื่อไปสู่อุดมการณ์เดียวกันด้วยความสมัครใจ  ซึ่งความเป็นผู้นำเป็นความสามารถของบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นยอมทำตามด้วยความสมัครใจ    เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน
Hersey  and  Blanchard  (1993)  ให้ความหมายว่า เป็นกระบวนการที่ใช้อิทธิพลให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลพยายามปฏิบัติงานในหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดไว้
Greenberg  and  Baron (1995) กล่าวว่า เป็นความสามารถที่มีอิทธิพลต่อสมาชิกภายในกลุ่ม  ทำให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้     ซึ่งแหล่งที่มาของอิทธิพลมาจากตำแหน่งหน้าที่ภายในองค์การหรือภายนอกองค์การ
 กวี วงศ์พุฒ (2535: 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
   (1) ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง 
        (2) ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
        (3) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
        (4) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
        (5) ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ 

บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง 
        (1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
        (2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ
        (3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย 

ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา (2544) ผู้นำ หมายถึง ผู้บริหารผู้จัดการและเจ้าของหรือผู้ก่อตั้งองค์กร แต่จะไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านี้ จะมีความเป็นผู้นำ ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับ และพร้อมที่จะปฏิบัติตาม เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่กำหนดขึ้นเสมอไป ทั้งนี้เพราะความเป็นผู้นำไม่ได้มาจากสถานะ หรือตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเท่านั้น หากแต่จะเกิดขึ้นได้จากคุณสมบัติและบุคลิกภาพความเป็นผู้นำของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ  นอกจากนี้การจะเป็นผู้นำได้จะต้องประกอบไปด้วย ความสามารถในการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของความรับผิดชอบและจริยธรรม อีกทั้งยังต้องเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสามารถในการสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ และสามารถสร้างบรรยากาศในองค์การเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
David Schwartz ได้ให้ความหมายของความเป็นผู้นำว่า หมายถึงศิลปะของการบอกชี้แนะผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้น 
George R. Terry
วความเป็นผู้นำ หมายถึงกิจกรรมของการใช้อิทธิพลต่อบุคคลหรือผู้ร่วมงานให้พยายามปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจเพื่อวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กร
Dalton E. McFarland
วความเป็นผู้นำ หมายถึงความสามารถที่จะชี้แนะสั่งการหรืออำนวยการหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นให้มุ่งไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
John M. Ivancevich; Andrew D. Szilagyi, Jr.และMarc J. Wallence
., ความเป็นผู้นำหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่า 2 คน ที่บุคคลหนึ่ง (ในจำนวนนั้น) พยายามที่จะมีอิทธิพลต่ออีกบุคคลหนึ่ง (หรือต่อกลุ่ม) เพื่อให้เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรบรรลุผล
                   ผู้นำที่จะสามารถจูงใจคนงานได้นั้น จะต้องเป็นผู้นำที่สามารถให้การตอบสนองแก่คนงานได้แบบของคนงานมากตามสมควร วิธีการบริหารที่สำคัญต่อการจูงใจคนงานก็คือ การให้มีส่วนร่วมในการบริหารโดยยึดถือวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของพฤติกรรมของผู้นำก็ควรจะเป็นแบบที่ค่อนมาทางประชาธิปไตย หรือที่จะมีการให้ความสำคัญและให้อิสระแก่องค์การ การให้มีส่วนร่วมในการบริหารไม่ว่าจะโดยให้เพียงร่วมปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นำได้มีพฤติกรรมที่ค่อนมาในทางประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น คุณลักษณะผู้นำเช่นที่กล่าวนี้ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการจูงใจคนงานตามแนวของมนุษยสัมพันธ์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร,2546).
ในการพิจารณาถึงผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์ส่วนประกอบความเป็นมาของผู้นำว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง นักทฤษฎีบางคนเชื่อว่า พฤติกรรมของผู้นำที่จะออกบทบาทได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของบุคลิกส่วนตัว บางคนกลับเชื่อว่า ขึ้นอยู่กับที่จะต้องจัดให้เหมาะสมกับลักษณะคนและกลุ่มคนที่เขาจะบังคับบัญชา แต่บางคนกลับเห็นว่า ต้องจัดโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมมากกว่า สำหรับการหาข้อยุติว่าผู้นำที่ดีที่สุดควรจะเป็นอย่างไรนั้นในปัจจุบันยังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้เพราะไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้ว่า การพิจารณาตามวิธีการใดจะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด และขณะเดียวกันการพิจารณาจากแต่ละวิธีต่างก็มีประโยชน์และข้อเท็จจริงจากด้านใดด้านหนึ่งเสมอ ทั้งคุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้นำ ลักษณะของผู้ตามและของกลุ่ม รวมตลอดทั้งสภาพการณ์ต่างก็เป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเป็นผู้นำที่ดีด้วยกัน การพิจารณากำหนดให้ผู้นำสามารถเป็นผู้นำที่ดี และมีประสิทธิภาพในการชักจูงกลุ่ม จึงต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ด้านมาประกอบกันเสมอ
นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า  การเป็นผู้นำที่ดีนั้นสำคัญที่บุคลิกภาพส่วนตัวของผู้นำเป็นสำคัญที่สุด บุคลิกภาพ ที่เหมาะสม เช่น ท่าทางดี พูดจาเก่ง เข้าคนได้ดี ฉลาด โน้มน้าวใจคนเป็น หรืออื่น ๆ จะเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของบุคลิกภาพของคนนั้น ๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพิจารณาดูถึงความสัมพันธ์ของการใช้บทบาทผู้นำที่เกี่ยวข้องไปถึงผู้ตามแล้ว จะโต้แย้งได้ว่า ลักษณะบุคลิกภาพมิได้เป็นสาระสำคัญของการเป็นผู้นำ ถึงแม้ผู้นำจะเป็นคนมีความสามารถดีเพียงใด หากผู้ตามในกลุ่มไม่พร้อมจะให้จูงใจได้ผลก็ย่อมจะตรงข้ามได้เสมอ ความเป็นจริงผู้นำจึงขึ้นอยู่กับผู้ตาม หรือขึ้นอยู่กับคนในกลุ่มที่จะชักนำอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน                            
ส่วนคำว่า "ภาวะผู้นำ" หมายถึงเป็นศิลปะที่จำเป็นและสำคัญยิ่งต่อนักบริหารที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำเป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดส่วนคำว่าปัญหาวางแผนและรับผิดชอบต่อความอยู่รอดหรือการพัฒนาขององค์การเป็นกระบวนการที่จะมีอิทธิพลเหนือคนกระตุ้นให้คนร่วมมือหรือปฏิบัติงานตามผู้นำนั้นด้วยความศรัทธานับถือ และด้วยความเต็มใจอย่างประสานสัมพันธ์กันจนงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง


                   



                   ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ (Leadership)
เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารจะให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ ผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายขององค์การ จากนิยามดังกล่าว มีคำถามว่าผู้บริหารจะทำให้ตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนอื่นได้อย่างไร คำตอบก็คือ อำนาจ (power) (Bartol & others 1998) อำนาจนี้มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน แต่โดยทั่วไปมีมาจาก 6 แหล่งที่สำคัญดังนี้ คือ (French & Raven 1959 อ้างใน Bartol & others) 


                   ผู้นำจึงต้องมีทักษะ (Skill)   เป็นความชำนาญของบุคคลในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ (ไขแสง , 2536)
1.  ความสามารถพื้นฐานเกี่ยวกับ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะเฉพาะพฤติกรรม เพื่อสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ผู้นำต้องเผชิญ ประกอบด้วย
1.1    การรู้จักตนและการประเมินตนเอง (Self  awareness  and  self  evaluation skills) ได้แก่
ความกระตือรือร้น  การไม่หยุดนิ่ง  การมีทิศทางของตนเอง  วิสัยทัศน์  ความยืดหยุ่น  การคิดสร้างสรรค์  และความรับผิดชอบในงานของตนเอง
1.2    การพูดและการสื่อสาร (Communication)
1.3    พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness)
1.4    เทคนิคการบริหารเวลา (Time management)
2.      ความสามารถในการประยุกต์ความสามารถส่วนบุคคลในการเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ได้แก่
2.1    การบริหารจัดการ
P (Planning)  การวางแผน  การกำหนดเป้าหมาย  การกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน
O (Organization)  การจัดองค์การ และการจัดการในหน่วย
S  (Staffing)  การบริหารงานบุคคล
D  (Directing)  การอำนวยการ
Co (Cooperating)  การร่วมมือ
R  (Report) การรายงาน
B  (Budgeting)  การจัดการการเงิน
2.2  การจัดการทรัพยากรมนุษย์  ได้แก่ การจูงใจ การแก้ไขความขัดแย้ง  การจัดการความเครียด  การใช้อำนาจและการให้อำนาจ  การให้อิสระและการสั่งงาน  การพัฒนาการศึกษา การฝึกอบรม และการติชม
3.      การประสานความร่วมมือ (Collaboration)
4.      การใช้กระบวนการวิจัย
5.      การเผยแพร่ข้อมูล
6.      การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
7.      การเปลี่ยนแปลง
8.      การเป็นตัวแทน (Representation)
9.      การเป็นแบบอย่าง (Role  model)
จากคุณลักษณะของภาวะผู้นำ  สามารถแยกตามตัวอักษร   LEADERSHIP   ได้ดังนี้
L =   Love  ความรัก  หมายถึง   ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำต้องเริ่มด้วยการมีความรักเสียก่อน คือ รักในหน้าที่การงาน  รักผู้ร่วมงาน  รักผู้ใต้บังคับบัญชา  รักความก้าวหน้า  รักความยุติธรรม
E =  Education   and  Experience  หมายถึง  คุณสมบัติทางด้านการศึกษาและประสบการณ์ที่ดี เป็นแบบอย่างและสามารถสั่งสอนแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้ถูกต้อง
A = Adaptability  หมายถึง  ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
D =  Decisiveness  หมายถึง  มีความสามารถในการพิจารณาตัดสอนใจได้รวดเร็ว  ถูกต้อง  แน่นอน  กล้าได้กล้าเสีย
 E =  Enthusiasm  ความกระตือรือร้น มีความตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติงานและสนับสนุนชักนำ (Encourage) ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างจริงจังด้วย
R  =   Responsibility  เป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่ทอดทิ้งหรือปัดความรับผิดชอบให้ผู้อื่น
S =  Sacrifice  and sincere  ต้องเป็นผู้เสียสละเพื่อส่วนรวม จริงใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเคารพนับถือ
H =  Harmonize  เป็นผู้มีความนุ่มนวล ผ่อนปรน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อกันในหมู่ผู้ร่วมงาน  อาจรวมถึงการถ่อมตัว (Humble)  ตามกาลเทศะอันควร
I =  Intellectual  capacity  เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด  มีไหวพริบ  ทันคนทันต่อเหตุการณ์  เป็นผู้รอบรู้  และมีความคิดริเริ่ม
P =  Persuasiveness  เป็นผู้มีศิลปในการจูงใจคน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้หลักจิตวิทยา(Psychology) และต้องมีอำนาจ (Power) ในตัวเองพอสมควร


บรรณานุกรม


ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร.(2546).การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์   มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์.(2538).องค์การและการบริหาร การศึกษาการจัดการแผนใหม่= Organization    and
management.กรุงเทพฯ ไทยวัฒนาพาณิช.
สหัสโรจน์ โรจน์เมธา.(2544).Hi-speed MBA Vol.2.กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.








 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ขอบคุณคะ