วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คุณลักษณะผู้นำ 10 ประการ




 

ลักษณะผู้นำ 10 ประการ


หนังสือ Performance Without Compromise เขียนโดย Charles F. Knight ซึ่งถือเป็นผู้บริหารสูงสุดที่ประสบความสำเร็จที่ บริษัท Emerson Electric ได้ระบุถึงคุณลักษณะสำคัญของผู้นำที่ดีไว้ว่า ไม่มีวิธีการที่ดีที่สุดในการเป็นผู้นำ เนื่องจากผู้นำที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมีลักษณะหรือวิธีการเป็นผู้นำแตกต่างกันออกไป


บรรดาผู้นำต่างมีคุณลักษณะที่เหมือนๆ กัน 10 ประการที่พอจะบอกได้ว่า เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำที่ดีควรจะมี


1.ความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ (Committed to success) Knight ระบุไว้ว่า ผู้นำที่ดีต้องเริ่มต้นจากจุดนี้ คนเหล่านี้เมื่อมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จ 

ก็จะทุ่มเทพลังงานเข้าทำงานเต็มที่ อีกทั้งยังเกาะติดกับงานที่ทำจนประสบความสำเร็จ ไม่ทำแบบจับจดหรือเลิกทำง่ายๆ


2.การกำหนดลำดับความสำคัญที่เหมาะสม (Set proper priorities) ดูเหมือนว่าทุกคน จะให้ความสำคัญกับการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำ แต่เมื่อถึงคราวปฏิบัติแล้วหลายครั้ง ที่ผู้นำจะไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญได้ ปัญหาหลักที่เกี่ยวข้องมีสามประการ ได้แก่


2.1 ความยากลำบากในการมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มีความสำคัญเพียงไม่กี่อย่าง รวมทั้งการต้องสื่อสาร และทำความเข้าใจในสิ่งที่สำคัญให้ทราบทั่วทั้งองค์กร  


2.2 ผู้นำอาจมุ่งเน้นสิ่งสำคัญผิดเรื่อง หรืออาจจะไม่มั่นใจว่าเรื่องใดควรจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สาม ผู้นำมักจะมีปัญหาว่าเมื่อเลือกความสำคัญแล้ว จะเกิดอาการรักพี่เสียดายน้อง เนื่องจากการกำหนดความสำคัญ จะทำให้มีเรื่องบางเรื่องที่ถูกลดบทบาทหรือความสำคัญลงจากการที่ผู้บริหารของ Emerson เห็นความสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญ ทำให้บริษัทนี้ต้องมีการวางแผนกลยุทธ์อย่างละเอียด สำหรับทุกๆ หน่วยงานทุกปี เนื่องจาก Knight มองว่ากระบวนการวางแผนเป็นกระบวนการที่ช่วยในการถามคำถามว่าสิ่งใดมีความสำคัญ และช่วยทำให้ผู้บริหารได้เห็นในสิ่งที่สำคัญในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเป็นประจำ


นอกจากนี้ ผู้บริหารจะต้องสามารถสื่อสารเรื่องที่มีความสำคัญให้กับผู้บริหารและพนักงานได้ทราบ และกระบวนการวางแผน ก็เป็นกระบวนการสำคัญ ที่ช่วยในการสื่อสาร และถ่ายทอดสิ่งที่มีความสำคัญ ให้ผู้บริหารระดับล่างได้รับทราบ


3.การตั้งและคาดหวังในมาตรฐานที่สูง (Set and demand high standards) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความซื่อสัตย์ ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ และในด้านของผลการทำงาน ถ้าผู้นำไม่มีการตั้งมาตรฐานที่สูงและคอยดูแลการทำงาน เพื่อให้บรรลุมาตรฐานเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ทั้งองค์กรก็ยากที่จะบรรลุ  มาตรฐาน


ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างระดับความกดดันที่เหมาะสมในองค์กร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องก่อให้เกิดบรรยากาศของความหวาดกลัว แต่เป็นความกดดันที่จะ  ผลักดันให้ทุกคนสามารถทำงานที่ท้าทายได้สำเร็จ


4.การเข้มงวดและยุติธรรม (Be tough but fair in dealing with people) โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับคน เนื่องจากคนมักโดยทั่วไป ต้องการที่จะถูกวัด ถูกประเมิน และพัฒนา


ดังนั้น สิ่งที่ผู้นำจะช่วยในส่วนนี้ได้ก็คือเข้มงวดแต่ยุติธรรม โดยคำว่าเข้มงวดในที่นี้คือความเข้มงวดต่อการบรรลุผลงานที่ตั้งไว้ ในขณะเดียวกัน ความยุติธรรมนั้นก็ครอบคลุมโอกาสที่พนักงานจะได้แสดงออกถึงความสามารถ ถึงแม้จะล้มเหลวแต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้ผิดพลาด แต่ก็ไม่ควรที่จะผิดพลาดซ้ำ


5.การให้ความสำคัญกับโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ (Concentrate on positives and possibilities) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดความสำคัญของสิ่งที่จะทำนั้นควรที่จะมุ่งเน้นในสิ่งที่ผู้นำสามารถก่อให้เกิดความแตกต่าง ไม่ใช่ไปมุ่งเน้นปัญหาที่ยากจะแก้ไข หรือไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้


6.พัฒนาและรักษาระดับเร่งด่วน (Develop and maintain a strong sense of urgency) เนื่องจากปัญหาต่างๆ ถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไขก็จะไม่ดีขึ้นจนกว่าจะได้รับการแก้ไข ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาในเรื่องของการดำเนินงานและเรื่องคนโดยเร็ว ผู้นำที่ดีจะมีทัศนคติเสมอว่าทำในบางสิ่งบางอย่างดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถึงแม้จะไม่ถูกต้องในตอนแรกแต่ก็จะหาทางแก้ไขจนถูกต้อง ดีกว่าไม่เริ่มทำสิ่งใดเลย (แล้วเอาแต่พูด)


7.การให้ความใส่ใจในรายละเอียด (Pay attention to detail) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และไม่มีสิ่งใดที่จะทดแทนข้อมูลได้ ในการเอาใจใส่และให้ความสนใจต่อข้อมูลอย่างละเอียด จะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการตัดสินใจ


8.การยอมรับต่อความผิดพลาด (Provide for the possibility of failure) เนื่องจากไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผน ดังนั้น จึงจำต้องวางแผนทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลักดันให้คนสร้างสรรค์และคิดในสิ่งใหม่ๆ ย่อมจะนำไปสู่โอกาสของความล้มเหลวได้ง่าย การยอมรับความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บริหารทุกคน


9.การเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องสำคัญ (Be personally involved) ถ้าผู้บริหารได้ลงมาเกี่ยวข้องใกล้ชิด ย่อมจะทำให้โอกาสในการที่จะประสบความสำเร็จเป็นไปได้มาก อีกทั้งยังจะช่วยในเรื่องของการลดปัญหาการเมืองภายในองค์กรอีกด้วย เนื่องจากเมื่อผู้นำสูงสุดมาเกี่ยวข้องแล้ว ย่อมจะเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของงานและความมุ่งมั่นของผู้นำ


10.สนุกกับงาน (Have fun) เรื่องนี้ง่ายมากคะ ถ้าเราไม่รู้สึกสนุกกับงาน ก็จะส่งผลให้ลูกน้องไม่สนุกกับงานไปด้วย ความสนุกนั้นเกิดขึ้นได้จากการที่ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ดีและมุ่งมั่นเช่นเดียวกัน รวมทั้งความสำคัญที่มีต่อเนื่อง 








คุณลักษณะผู้นำ  ๑๔  ประการ


๑.ลักษณะท่าทางหรือการวางตัว  (Bearing)

      คือ  การสร้างความประทับใจในเรื่องท่าทาง  การวางตัว  และความประพฤติให้อยู่ในระดับสูงสุดเป็นที่นิยมของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา มีความสุภาพนุ่มนวลหลีกเลี่ยงการพูดด้วยถ้อยคำหยาบคาย หรือเหยียดหยามผู้อื่น เป็นบุคคลที่มีความสง่าผ่าเผย ควบคุมตนเองได้ทั้งในการปฏิบัติตน และอารมณ์  แต่งกายสะอาดเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบแบบแผน


๒.ความกล้าหาญ  (Courage)

      คือ  การบังคับจิตใจตนเองให้อยู่ในความสงบ ไม่เกรงกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่สะทกสะท้านหรืออ่อนไหว  กล้าทำ  กล้าพูด  กล้ายอมรับผิดหรือคำติเตียน  เมื่อมีความผิดพลาด  หรือบกพร่อง  ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกที่ควร  ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่เป็นที่สบอารมณ์ผู้อื่นก็ตาม


๓.ความเด็ดขาด  (Decisiveness)

      คือ  ความสามารถในการตกลงใจโดยฉับพลัน  และประกาศข้อตกลงใจอย่างเอาจริง และชัดแจ้ง  โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่างๆ  รวมทั้งประสบการณ์ของตนเองและบุคคลอื่นอย่างมีเหตุผลและมีความมั่นใจ  ในลักษณะที่รวดเร็ว  ไม่พูดอ้อมค้อม  ถูกต้อง  และทันเวลา


๔.ความไว้เนื้อเชื่อใจ  (Dependability)

      คือ   การได้รับความไว้วางใจในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ หรืองานที่มอบหมายได้ถูกต้องไม่ผิดพลาด  ด้วยความคล่องแคล่ว  ว่องไว  เฉลียวฉลาด  กระทำการอย่างเต็มความสามารถและพิถีพิถัน  เป็นคนตรงต่อเวลา   ไม่กล่าวคำแก้ตัว  มีความตั้งใจ และจริงใจ


๕.ความอดทน  (Endurance)

      คือ   พลังทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งวัดได้จากขีดความสามารถในการทนต่อความเจ็บปวด  ความเหน็ดเหนื่อย  เมื่อยล้า  ความยากลำบาก  ความเคร่งเครียด  งานหนัก  รวมถึงความอดกลั้นต่อสถานการณ์ที่บีบคั้น


๖.ความกระตือรือร้น  (Enthusiasm)

      คือ   การแสดงออก ซึ่งความสนใจอย่างจริงจัง และมีความจดจ่อต่อการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง  หมายถึง  การทำงานด้วยความร่าเริงและคิดแต่แง่ดีเสมอ


๗.ความริเริ่ม     (Initiative)

      คือ   การเป็นผู้รู้จักใช้ความคิดในการเสาะแสวงหางานทำ และเริ่มหาหนทางปฏิบัติ ถึงแม้จะไม่มีคำสั่งให้ปฏิบัติ หรือการแสวงหาแนวทางในการปฏิบัติงานใหม่ ๆ ที่ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม  และกระทำทันทีโดยไม่รีรอหรือชักช้า


๘.ความซื่อสัตย์สุจริต  (Integrity)

      คือ ความเที่ยงตรงแห่งอุปนิสัยและยึดมั่นอยู่ในหลักแห่งศีลธรรมอันดีงามเป็นคุณสมบัติของการรักความจริง  รักษาวาจาสัตย์ตลอดเวลา  คำพูดทุกคำต้องถูกต้องเป็นจริงทั้งเรื่องราชการและส่วนตัว  ยืนหยัดในเรื่องที่ถูกต้อง และสำนึกในหน้าที่การงานของตน


๙.ความพินิจพิเคราะห์  (Judgment)

      คือ  คุณสมบัติในการใคร่ครวญ  โดยใช้เหตุผลตามหลักตรรกวิทยา  เพื่อให้ได้มูลความจริงและหนทางแก้ไขที่น่าจะเป็นไปได้นำมาใช้ในการตกลงใจได้ถูกต้อง


๑๐.ความยุติธรรม  (Justic)

      คือ   การไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร มีความเที่ยงตรง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง มีความเสมอต้นเสมอปลายในการบังคับบัญชา  การให้รางวัลและการลงโทษแก่ผู้ที่กระทำผิด  การไม่มีอคติต่อเชื้อชาติ  ศาสนา  บุคคล หรือกลุ่มบุคคล  มีความเที่ยงธรรมคงเส้นคงวาโดยไม่เห็นแกหน้าใคร


๑๑.ความรอบรู้     (Knowledge)

      คือ   ข่าวสารที่บุคคลหามาได้รวมทั้งความรู้ในวิชาชีพของตน  และความเข้าอกเข้าใจในตัวผู้ใต้บังคับบัญชา  นอกจากความรู้ในวิชาชีพ  ควรทราบเหตุการณ์ภายใน และภายนอกประเทศ


๑๒.ความจงรักภักดี  (Loyalty)

      คือ   คุณสมบัติของบุคคลที่มีจิตใจเชื่อมั่น และยึดมั่นต่อประเทศชาติ      ศาสน์     กษัตริย์

ต่อกองทัพ  ต่อหน่วย  ต่อผู้บังคับบัญชา  ต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ  ยืนหยัดต่อสู้เพื่อผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อเห็นว่าถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงการไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้บังคับบัญชาของตนต่อหน้าผู้ใต้บังคับบัญชา


๑๓.ความรู้จักกาลเทศะ  (Tact)

      คือ   ความสามารถในการปฏิบัติตนกับบุคคลอื่นโดยไม่เกิดความขุ่นข้องหมองใจ ไม่ก่อ ให้เกิดศัตรูหรือเป็นปฎิปักษ์ต่อกันในทัศนะของบุคคลทั่วไป  กาลเทศะ ยังหมายถึง ความสามารถที่จะพูด หรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ถูกต้อง  เหมาะสมแก่กาลเวลาและสถานที่  ความสุภาพอ่อนโยนถือเป็นส่วนหนึ่งของกาลเทศะด้วย


๑๔.ความไม่เห็นแก่ตัว  (Settlessness)

      คือ   การไม่ฉวยโอกาสตักตวงความสุข  ความสะดวกสบาย  ความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเอง  โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือเสียผลประโยชน์  หมายถึงการร่วมเป็นร่วมตายกับเพื่อนร่วมงาน การแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ให้กับผู้ขาดแคลน  ยกย่องผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อปฏิบัติงานดีเด่น  หรือให้ความช่วยเหลือตามสมควร






ขอบคุณ : research.crma.ac.th/2549/index.php/ภาพ:ลักษณะผู้นำ_๑๔_ประการ.doc - 13k -

              : dek-d.com 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ขอบคุณคะ