วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

"กระซิบ" ทีเดียว สะเยียวทั้งโลก (Facebook vs WikiLeaks)

"สวัสดีคะ ไม่ได้เจอกันประมาณ 4 อาทิตย์ งานยุ่งนิดหน่อยคะ และพอดีกับช่วงเทศกาลปีใหม่หยุดกันไปหลายวัน สำหรับปีกระต่ายทองนี้  2554 ก็อวยพรให้เพื่อน ๆ ทุกคนมีความสุข สดชื่น และสมหวัง ตลอดปีนะคะ แรก ๆ ก็ยังเป็นห่วงบล็อกตัวเองเหมือนกันว่าห่างการอัพเดทไปนานอย่างนี้จะลืมกันหรือเปล่า! แต่รับรองคะว่าจากนี้จะนำเรื่องดี ๆ มาฝากกันให้บ่อยมากขึ้นแน่นอน

เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วดิฉันได้อ่านบทความดี ๆ และน่าใจมาก ๆ เรื่องหนึ่งในหนังสือพิมพ์มติชน (สุดสัปดาห์) ฉบับวันที่ 24-30 ธันวาคม 2553 หลาย ๆ คนอาจจะได้อ่านผ่านออนไลน์ หรือ หนังสือพิมพ์กันบ้างแล้ว ซึ่งวันนั้นเป็นวันที่หนังสือฉบับนี้ออกวันแรก ดิฉันคิดว่าจะต้องนำมาฝากให้เพื่อน ๆ ให้ได้อ่านกันแน่นอน"




"ซึ่งผู้เขียนเค้าได้นำเสนอเรื่องราวของ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ผู้ก่อตั้ง สังคม        ออนไลน์ Facebook และ จูเลียน แอสแซนจ์ จากวิกิลีกส์ ซึ่งบุคคล 2 ท่านนี้ เป็นคนดังระดับโลกและคนหนึ่งก็ได้รับการประกาศเป็นบุคคลแห่งปี (Person of the Year) จาก นิตยสาร (TIME) ปี 2010 แต่อีกคนหนึ่งก็ได้รับคะแนนโหวตผ่าน TIME ให้เป็นบุคคลแห่งปีเช่นเดียวกัน แต่นิตยสารชื่อดังกลับยกตำแหน่งบุคคลแห่งปีให้แก่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แทน"

"กระซิบ" ทีเดียว สะเยียวทั้งโลก

นดังระดับโลก ในปีนี้ ต้องยอมรับโดยดุษฎี ว่าไม่พ้น

1) มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เฟซบุ๊ก วัย 26 ปี และ
2) จูเลียน แอสแซนจ์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการเว็บไซต์จอมแฉอย่างวิกิลีกส์ วัย 39 ปี

เหตุเพราะทั้งสองได้เอื้อมมือผ่าน "เน็ตเวิร์ก" เขย่าโลกทั้งใบให้สั่นสะเทือน แน่นอน ไม่เว้นแต่ประเทศเล็กๆ อย่าง "ไทยแลนด์" ด้วย



ล่าวสำหรับ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก อาจจะดูดีเป็น "พระเอก" กว่า จูเลียน แอสแซนจ์
มาร์ค ได้รับการยกย่องจาก "ไทม์" นิตยสารวิเคราะห์ข่าวรายสัปดาห์ทรงอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาให้เป็นบุคคลแห่งปีสำหรับปี 2553 ในฐานะที่เป็นมหาเศรษฐีพันล้านที่อายุน้อยที่สุดในโลก
        
เป็นผู้ที่ทำให้ผู้คนมากกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันและเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งกันและกันได้อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เป็นผู้สร้างระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารใหม่ที่กลายเป็นทั้งสิ่งที่ขาดไม่ได้ ของผู้ใช้ 500 ล้านคนทั้งที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งมาเมื่อค.ศ.2004 หรือเพียง 6 ปีกว่าเท่านั้น
          

ด้วยเหตุนี้ ภาพพจน์ของ "มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก" แห่ง Facebook จึงค่อนข้างเป็นบวก เป็นไอดอล คนรุ่นใหม่ และติดทำเนียบบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก ด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วย "อิทธิพล" อันใหญ่หลวงของเฟซบุ๊ก ดังกล่าว ทำให้ในภาพ "บวก"มีภาพอันน่ากลัวแฝงอยู่ในเวลาเดียวกันด้วย เนื่องจากเฟซบุ๊กเป็นเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุด อันดับหนึ่งของโลก มีบุคคลทุกระดับของโลกสมัครเข้าเป็นสมาชิก

ขณะเดียวกัน มีสมาชิกเพิ่มอย่างก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่อง "ข้อมูลข่าวสาร" ทั้งที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์สามารถแพร่ออกไปทั่วโลกได้ใน "พริบตา" จึงเหมือน "ดาบสองคม"

คมหนึ่ง อาจจะเป็นประโยชน์ในแง่การเผยแพร่ข่าวสารในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แต่คมหนึ่ง อาจจะเป็น "อันตราย" อย่างใหญ่หลวง สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้ข้อมูลตนเองหลุดออกไป

ด้วยเหตุนี้มีหลายประเทศได้ตัดสินใจทำการบล็อกเว็บไซต์เฟชบุ๊ก โดยอ้างว่าเกรงกลัวเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความมั่นคงของรัฐ ประเทศเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศปิด ได้แก่ จีน อิหร่าน ซีเรีย ปากีสถาน เวียดนาม และเกาหลีเหนือ แต่กระนั้น ประเทศเปิดทั้งหลาย ก็อดจะเฝ้ามองด้วยความหวาดระแวงไม่ได้ เป็นความหวาดระแวง หลังจากเกิดกรณี "เคเบิลเกต"


  
น่นอน ผู้ที่ทำให้เกิดกรณี "เคเบิลเกต" ก็คือ คนที่ชื่อ จูเลียน แอสแซนจ์ ผู้ก่อตั้งและบรรณาธิการเว็บไซต์จอมแฉอย่างวิกิลีกส์ นั่นเอง

เขาเป็นผู้ที่ได้รับการโหวตผ่านเว็บไซต์ของไทม์ เลือกให้เป็นบุคคลแห่งปี แต่ไทม์ตัดสินใจเลือก มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แทน 

ซึ่งส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากภาพเป็น "ตัวอันตราย" ของ จูเลียน แอสแซนจ์ นั่นเอง เป็นตัวอันตราย หลังจากที่วิกิลีกส์เผยแพร่เอกสารลับทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐกว่า 250,000 ชิ้น ที่ได้จากการแฮ็กบนเว็บไซต์วิกิลีกส์

"เอกสารลับ" ดังกล่าว เป็นเอกสารของสถานทูตและสถานกงสุลสหรัฐในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 250 แห่ง ที่รายงานกลับไปยังประเทศแม่

แน่นอนเต็มไปด้วยความลับ และประเด็นอันละเอียดอ่อน ที่สร้างผลกระทบ "ร้ายแรง" ทั้งผู้ที่รายงาน และผู้ที่ถูกพาดพิงถึง



การเปิดเผยเอกสารลับของวิกิลีกส์ จึงเปรียบเหมือนการยิงขีปนาวุธลงกลางวง "การทูต" ของโลก
สหรัฐ บาดเจ็บสาหัส เพราะนอกจากความลับถูกเปิดเผยแล้ว ยังทำให้ "ความไว้วางใจ" และ "ความเชื่อมั่น" ที่ประเทศต่างๆ มีให้พังครืนลง 

ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศต่างๆ พลอยเจอสะเก็ดขีปนาวุธ บาดเจ็บ ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงสาหัส จำนวนมาก จูเลียน แอสแซนจ์ จึงเป็น "บุคคลอันตราย" แถวหน้าของโลก ดังกล่าว

สหรัฐ และหลายประเทศต่างทำทุกวิถีทางเพื่อยับยั้ง "วิกิลีกส์" ทั้งการสะกัดเครือข่าย เซิร์ฟเวอร์แหล่งทุน ตัว จูเลียน แอสเซนจ์ เองถูกตำรวจอังกฤษจับกุม ตามหมายจับของสวีเดน ในข้อหา ล่วงละเมิดทางเพศหญิงสวีเดน 2 คน เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ก่อนที่ศาลสูงของอังกฤษจะอนุญาตให้ประกันตัวออกมา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา

เขาประกาศที่จะเดินหน้าตามเจตนารมณ์ของ "วิกิลีกส์" ต่อไป คือการสร้างความ "โปร่งใส" ให้เกิดขึ้น และบีบคั้นให้รัฐบาลทุกประเทศ "เปิดเผย" และ "รับผิดชอบ" ในการกระทำใดๆ ของตน ซึ่งยิ่งกดดันให้สหรัฐต้องหาช่องทางกฎหมายเพื่อเล่นงานจอมแฉให้ได้

ล่าวสำหรับประเทศไทย มีรายงานระบุว่า มีบันทึกทางการทูตของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 2,941 ชิ้น ต่างกรรม ต่างวาระกัน ตกอยู่ในมือของวิกิลีกส์แล้ว

และบันทึกเหล่านี้ ถูกมอบให้ เดอะ การ์เดียน หนังสือพิมพ์ระดับหัวแถวของอังกฤษ ที่ทำความตกลงกับวิกิลีกส์ ในการคัดเลือกเพื่อนำมาเปิดเผยต่อโลก

เอกสารลับของสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย หรือ "แบงค็อก เอ็มบาสซี่ เคเบิล" ที่เปิดเผยออกมาแล้วก็เช่น กรณีคดี "วิคเตอร์ บูท" และภาพความสัมพันธ์โดยรวมระหว่างไทยกับรัสเซีย เป็นต้น

เดอะ การ์เดียน ได้ทยอยเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับประเทศไทย ออกมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ บันทึกของ 2 อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐ ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากคือ นายราล์ฟ แอล. บอยซ์ และ นายอิริค จี จอห์น เพราะขณะที่ดำรงตำแหน่ง ประเทศไทยเกิดวิกฤตทางการเมือง ที่ "วุ่นวายที่สุดในโลก" พอดี

รายงานต่างๆ ย่อมจะ "แหลมคม" และแสน "ละเอียดอ่อน" นี่จึงเป็นความระทึกใจของ "ทุกฝ่าย" ที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ทั้ง คนให้ข้อมูล คนที่ถูกพาดพิงถึง รวมถึงคนวงนอกที่ไม่ได้สัมผัส "ข้อมูล" ภายในอันแสนจะอ่อนไหวนั้น
 

าทีนี้ต้องยอมรับว่า ทั้ง  จูเลียน แอสแซนจ์ แห่งวิกิลีกส์ และ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แห่งเฟซบุ๊ก มีอิทธิพลอย่างสูงในการเขย่าโลก

มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก อาจจะเป็นเรื่องบวก ขณะที่ จูเลียน แอสแซนจ์ จะออกไปในทางเรื่องลบ โดยเฉพาะในฝ่ายที่ไม่ต้องการให้เปิดเผย จึงมีความพยายามที่จะสกัดทุกวิถีทางให้ เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่เอกสารที่กระทบถึงตน

แต่กระนั้น ดูจะเป็นเรื่องไม่ใช่ง่ายๆ เพราะในโลกแห่งข่าวสารถึงจะปิดที่นี่ ก็ไปโผล่ที่นั่น ที่โน่น และที่ไหนๆ ซึ่งเครือข่ายเน็ตเวิร์กไปถึง

สมเป็นยุคที่ "กระซิบ" ทีเดียว สะเยียว ทั้งโลก! โดยแท้

ขอขอบคุณ : หนังสือพิมพ์มติชน (สุดสัปดาห์) ฉบับวันที่ 24-30 ธันวาคม 2553

"แต่สิ่งที่บุคคลทั้ง 2 ท่านมีเหมือนกัน นั่นคือ "ผู้นำ" ระดับโลกด้านการสื่อสารผ่านระบบเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์  และผู้ทรงอิทธิผลระดับโลกที่แม้แต่  "พญาอินทรีย์" ยังต้องสะเทือน!!"

โดย Barbiegirl

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยความสุภาพ ขอบคุณคะ