วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การบริหารความเครียดของผู้นำ

     พูดถึงความเครียด ผู้บริหารหรือผู้นำคนใดไม่เคยสัมผัสคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้แน่นอน ความเครียด ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายไปเสียทีเดียว 
    หากความเครียดที่มีในระดับที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้น ให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์งาน เกิดความมุมานะพยายามทำงานให้สำเร็จในทางตรงกันข้าม หากความเครียดเลยขีดที่พอดี จะกลับกลายเป็นพลังทำลาย โกรธแค้น ลังเล ท้อแท้ หดหู่ สิ้นหวัง อยากทำร้ายตนเองและผู้อื่น เช่น พฤติกรรมเกรี้ยวกราดต่อคนรอบข้าง ใช้คำพูดที่ขาดสติยับยั้ง จนถูกมองว่าบ้าอำนาจ หรือไม่ก็น้อยใจลาออกไปเองเห็นได้ทั่วไปจากผู้นำระดับสูงในบ้านเมือง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดจะออกมารูปไหนขึ้นกับภูมิหลังที่มาของผู้นำและระดับ ความรุนแรงของความเครียด 









จากกราฟ แสดงความสัมพันธ์ของระดับความเครียดกับผลงาน จะเห็นว่า การที่คนเรามี ความเครียด ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงขับในการสร้างผลงานได้ดี หากมีมากเกินไป จะส่งผล ให้ผลงานแย่ลง อาจแบ่ง ความเครียดเป็น 2 ประเภท

        
1 ประเภทแรก เรียกว่า แรงเครียดบวก (Creative tension) เช่น ความรู้สึกต้องรับผิดชอบ มากขึ้น (แต่มีความภูมิใจลึกๆ) งานมีมาก (แต่ผลสำเร็จสูง) เหนื่อยมาก (แต่รายได้ดี) เป็นต้น แรงเครียดประเภทนี้มี ตัวพยุง (Buffer) ความรู้สึกเครียดอยู่ภายใน ไม่ให้เป็นแรงทำลายได้แก่ ฉันทะคือความพอใจอยากได้อยากเป็น เมื่อเกิดความพอใจแล้วก็จะเกิด วิริยะ คือความพยายาม ตามมา ทำให้เกิด จิตะ คือมีจิตใจจดจ่อแน่วแน่ตั้งมั่นเป็นสมาธิส่งผลให้จะทำอะไรก็จะใคร่ครวญ ได้รอบคอบ ไม่วู่วาม คือมีวิมังสา

         
2. ประเภทที่สอง เรียก แรงเครียดลบ(Destructive tension) เช่น ความรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบ มากขึ้น งานมีมาก (แต่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ ไม่ยุติธรรม) เหนื่อยมาก (ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม ทำไป ก็เท่านั้น)ความรู้สึกเช่นนี้เกิดจากมีแรงเสริมให้ความเครียดแสดงอาการมากขึ้นจนอาจควบคุมไม่ได้ กลายเป็นแรงทำลายไป ความรู้สึกมาส่งเสริมความเครียดนี้ให้รุนแรง ทางพุทธธรรมเรียกว่า ตัณหา ได้แก่ ความโลภ อยากได้มากจนเกินศักยภาพและความพอดีในเหตุและผล ความโกรธ เมื่อไม่ได้ ก็เกรี้ยวกราด ก้าวร้าว ทำร้ายตนเองและผู้อื่น ความหลง คือความไม่เข้าใจในโลกที่เป็นจริงที่ว่า เหตุปัจจัยอะไรทำให้เกิดผลคืออะไร การทำดีย่อมได้ดีทำไม่ดีย่อมไม่ได้ดีตามกรรมที่ทำ มอง ตนเองไม่ออกไม่รู้ความสามารถและข้อจำกัดของตน ไม่รู้จักความพอประมาณไม่เกินเลย ไม่รู้จัก กาลเวลาที่เหมาะสมไม่รู้จักและเข้าใจในคนอื่นรอบตัวเพื่อการคบหา ไม่รู้จักสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตามหลักของ สัปปุริสธรรม7ซึ่งเป็นธรรมะของสัตบุรุษ(คนดี)ที่พึงเข้าใจปฏิบัติเพื่อการอยู่ใน สังคมอย่างมั่นคงและเป็นสุขได้


  
 การบริหารความเครียด (Stress management)
ไม่มีใครในโลกสักคนที่ปราศจากความเครียด แม้แต่สัตว์เดียรฉาน ยิ่งเป็นผู้นำด้วยแล้ว สิ่งต่างๆ ถาโถมเข้ามามากมายให้ต้องคิด ต้องฟัง ต้องรับผิดชอบ ต้องแก้ปัญหา หากประคองตนไม่อยู่ ก็จะเกิดภาวะ ”สติแตก”แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมาให้เป็นที่ครหาของผู้คนรอบข้าง เกิดความเสียหาย ขาด ความนับถือและเครารพของลูกน้องได้ การจัดการความเครียดของผู้นำ ไม่ได้มุ่งที่จะให้หมดไปได้หากแต่จะทำให้เบาบางลงได้อย่างไร แนวทางมีดังนี้

      1. ยอมรับความเครียดของผู้นำเป็นเรื่องธรรมดา
เมื่อตัดสินใจมาเป็นผู้นำ ภารกิจย่อมก่อความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เป็นเรื่องธรรมดา ควรมองให้มันเป็นเรื่องปกติวิสัย เฉกเช่น การจะเป็นไต้ก๋งเรือ ย่อมมองเห็นกระแสน้ำ พายุคลื่น ลมแรงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องเผชิญและฝ่าฟันให้ผ่านพ้นไปให้ได้ มันเป็นสภาวะธรรมชาติ ของทุกสิ่งที่มีเหตุปัจจัยให้เกิดไม่อาจเลี่ยงได้ เพียงแต่เราต้องมีสติเพียงพอ และรู้จักการปล่อย วางบ้าง

     
 2. ตั้งสติให้ได้เมื่อมีปัญหา
         - ทำใจให้สงบเพื่อตั้งสติเมื่อมีปัญหา ไม่วู่วาม ด่วนตัดสินใจหรือใช้คำพูดแสดง พฤติกรรมออก มาโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ เปิดใจรับฟังปัญหา คิดเสียว่าปัญหาจะหนักหนาแค่ไหนก็ต้องจบลง ได้ เพียงแต่ว่าจะใช้วิธีไหน ถ้าขาดสติก็จะคิดไม่ออก น้ำที่ถูกสาดออกไปในอากาศ ย่อมไม่อาจ ลอยอยู่ได้ ต้องตกถึงพื้นและไหลไปสู่จุดต่ำสุดฉันไดทุกปัญหาย่อมมีทางออกที่ดีที่สุดของมัน ตามสภาวการณ์ฉันนั้น เพียงแต่ว่าเราจะใช้วิธีการจัดการเข้ามาช่วยซึ่งต้องมีสติปัญญาเป็นปัจจัย หรือ ปล่อยให้มันจบลงตามธรรมชาติเท่านั้นเอง คิดได้ใจก็จะสงบ

        
 - กล้าเผชิญกับปัญหา ไม่มีวิธีการแก้ปัญหาได้โดยไม่รับรู้เข้าใจในปัญหา หลายคนพยายาม ระงับไม่พยายามพูดถึงปัญหาเพราะ
    ความเกรงใจหรือเกรงกลัว หากเป็นเช่นนี้ ย่อมไม่อาจแก้ ปัญหาได้
  
        
 - แบ่งปัญหาตามความสำคัญก่อนหลัง หากมีปัญหาประดังเข้ามามาก ควรเรียงลำดับความสำคัญ ของปัญหาเพื่อเอามาพิจารณา ไม่ควรเผชิญกับปัญหาทั้งหมดพร้อมๆกัน เพราะจะสูญเสียพลังในการ แก้ปัญหาไปมาก เริ่มไปทีละเรื่องเดี๋ยวก็หมดเอง

       
  - ใคร่ครวญวิเคราะห์ปัญหาด้วยใจเป็นกลาง บนพื้นฐานความเป็นจริง ให้มองปัญหาจากข้อมูล ที่เป็นจริง แล้วค่อยๆไตร่ตรองใคร่ครวญอย่างรอบคอบ หากมองปัญหาผิด การแก้ปัญหาก็ล้มเหลว

       
  - เลือกทางออกที่ดีที่สุด บางครั้งคนเราไม่อาจบอกสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นว่าอันไหนดีที่สุด แต่ผู้นำ ก็ต้องถึงจุดที่ต้องตัดสินใจเลือกทางออกที่ดีที่สุด บนพื้นฐานที่เป็นไปได้มากที่สุด หากผู้นำไม่ตัดสินใจ ลอยตัวเหนือปัญหา เท่ากับการก่อปัญหาใหม่ขึ้นมาไม่สิ้นสุด

       
  - ไม่เสียใจ กับความผิดพลาดเมื่อคิดดีแล้ว สี่ขายังรูพลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ไม่มีอะไร บนโลก ที่แน่นอนที่สุด เมื่อตัดสินใจอย่างรอบคอบแล้ว ณ เวลานั้น ถือว่าดีที่สุด ต้องยอมรับ ตนเอง และ พร้อมที่จะแก้ไข ถ้าผิดพลาด

     
 3. ให้เวลากับปัญหาถ้าถึงทางตัน
บางครั้งปัญหาหรืองานประดังเข้ามาดังห่าฝน หรือการแก้ปัญหาถึงทางตันที่ยังมองหาทางออกไม่ได้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการให้เวลากับมันฝืนดันทุรังไปรังแต่จะมึน สติแตกสร้างความเครียดให้ตนเอง ทรมานเปล่าๆ ให้ปล่อยใจ ออกจากเหตุการณ์ปัญหาสักระยะ พอเราว่างจาก มันและปล่อยวางได้ สติก็จะกลับคืนมาและปัญญาในการแก้ปัญหาก็จะเกิด คิดเสียว่า ยังไงก็ต้องแก้ได้ไม่ช้าก็เร็ว อาจใช้ วิธีปรึกษาหารือกับผู้อื่นที่เราคิดว่าเขาพอช่วยเราได้

   
   4. มองอดีตในเรื่องดีๆที่ผ่านมา
การคิดถึงความสุข ความสำเร็จในอดีตบ้างในยามที่ท้อแท้ หรือมองเห็นชีวิตคนอื่นที่แย่กว่าเราอาจ ช่วย ให้เรามองเห็นคุณค่าของตนเองและมีกำลังใจในการแก้ปัญหา หรือมุ่งทำสิ่งดีๆ เป็นการลดความ เครียดลงไป

      5. มองว่าวันนี้ยังไงก็ต้องผ่านไป

วันเวลาไม่เคยหยุดนิ่ง วันนี้จะกลายเป็นอดีตในวันพรุ่งนี้ ความสุขและความทุกข์ของคนเรา เมื่อมี เกิดขึ้น ย่อมมีวันดับไปสลับกันเช่นนี้ไปชั่วชีวิตตราบที่มีลมหายใจอยู่
      6. มองวันข้างหน้าว่าต้องมาถึง
ดวงอาทิตย์ มีขึ้นแล้วมีลับจากไปเป็นมาอย่างนี้ไม่มีวันสิ้นสุด หากวันนี้มีความทุกข์มากมาย ให้คิดว่า พรุ่งนี้ยังมีวันใหม่เสมอ เพียงแต่ขอให้เรามีความหวัง มีลมหายใจและความพยายาม ความกล้าพร้อม ที่จะเผชิญกับมันในวันรุ่งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง โอกาสย่อมเป็นของเรา

      7. หาใครสักคนที่ฟังเราได้ ไม่ควรอยู่คนเดียว

ควรมีคู่คิดไว้เพื่อปรึกษาและระบายความกดดันที่มีอยู่ เพราะบางครั้งผู้นำไม่อาจแสดงอาการ ออกได้อย่างเสรีต่อหน้าผู้คน ความที่ต้องอดทนอดกลั้นอาจกลายเป็นความกดดันให้เราต้องพบ กับความเครียด ผู้ที่สามารถฟังเราได้อาจเป็นสามีหรือภรรยาลูกน้อง คนสนิทที่รู้ใจและเข้าใจ บทบาทของตนเองไม่แสดงอาการเหิมเกริมเพราะใกล้ชิดผู้นำ(Power of reference)เพราะเขาอาจนำความลำบากใจมาสู่ผู้นำได้
      8. ออกกำลังกาย ผ่อนคลายสมอง
การออกกำลังกายเป็นการช่วยให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข (Endophin) อีกทั้งเป็นการปลด ปล่อยความเครียดออกมา ลดความฟุ้งซ่านได้นอกจากช่วยสุขภาพแข็งแรง

      9. ศึกษาธรรมะเพื่อชำระความเครียด


หลักของพุทธธรรมจะกล่าวถึง ความทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ หนทางที่จำดับทุกข์และแนวทางปฏิบัติ เพื่อการดับทุกข์ ช่วยให้ผู้นำมองเห็นกฎแห่งความเป็นจริงว่าด้วย ความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง เมื่อมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ไม่สามารถยึดถือให้สิ่งที่รักหรือชัง ทุกข์หรือสุข ให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกาล ทุกอย่าง เกิดขึ้นล้วนมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด ความไม่รู้ถึงสภาวะธรรมชาติของโลกทำให้เกิดการรับรู้และปรุงแต่ง ไม่สิ้นสุดตามตัณหากิเลสของบุคคล การยึดความสุขในทาง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เอาความอยากเป็น ความไม่อยากเป็นมาไว้มากเกินพอดีทำให้เกิดความทุกข์ ผู้นำตราบที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ ขอเพียงเข้า ใจสภาวธรรมที่เป็นจริงตามธรรมชาติของตนเอง ผู้อื่นและ เหตุการณ์ และมีโยนิโสมนสิการ คือรู้จักการ ใคร่ครวญไตร่ตรองในเหตุการณ์ต่างๆอย่างรอบคอบ ปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีความรักเมตตาต่อผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น และรู้จักวางเฉยกับเหตุการณ์ที่เราไม่อาจแก้ไขได้ แค่นี้ก็สุขได้เกินพอ สุขแบบโลกๆ 

       ข้อคิดผู้นำกับความเครียด
 1. การระงับความเครียดด้วยยา เหล้า กิเลสราคะ เปรียบเหมือนการเก็บขยะไว้ใต้พรม เป็นเพียงการระงับความเครียดไว้ชั่วขณะ พอรู้ตัว ความทุกข์ก็ยังมีอยู่และจะรุนแรงมากขึ้นอีก
2. การแก้ความเครียดต้องมีความกล้าที่จะเผชิญกับมันด้วยสติและปัญญา ไม่หลอกตนเองและผู้อื่น
3. ผู้นำแตกต่างจากพระอรหันต์คือผู้นำยังอยู่ในโลกีย์ภูมิ ส่วนพระอรหันต์อยู่ในโลกุตระภูมิ ดังนั้น ความสุขของผู้นำคือสุขที่เกิดจากการยึดหลักความพอดีและพอเพียง สุขของพระอรหันต์คือสุุขที่เกิดจากการหลุดพ้นสามารถดับอวิชชาได้ 

ขอบคุณ : http://www.ksbrhospital.com

ความรัก ราศีกรกฏ



https://www.facebook.com/barbie.uk



ความรัก ราศีกรกฏ

สำหรับเจ้าของ Blog และเพื่อนๆ ที่เกิดในเดือนนี้นะคะ...*-*


คนที่เกิดในราศีกรกฏ บ้านคือหัวใจสำคัญของเขา เป็นที่ที่ปลอดภัยและรู้สึกผ่อนคลายที่สุด เมื่ออยู่บ้านกับครอบครัว ธรรมชาติของชาวกรกฎอยู่บนฐานของดวงจันทร์ และมีสัญลักษณ์ประจำราศีคือ ปู ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่มีอารมณ์แปรปรวน ขึ้นๆลงๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ม่ค่อยมีความมั่นใจ หากคุณเป็นคนสนิทกับเขาคุณจะต้องยอมอุทิศเวลาและอารมณ์เพื่อคอยเอาใจและดูแลเขามากหน่อย และต้องเป็นผู้นำให้กับเขาด้วย แต่เขาก็ไม่ใช่คนเรื่องมากอย่างที่คิด เขาโกรธง่ายหายเร็ว และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี ดังนั้นในการคบกับชาวราศีกรกฎจะเป็นบทพิสูจน์ที่ดี สำหรับความใจเย็น อดทนและความเป็นผู้นำของคุณเลยทีเดียว

ความโรแมนติกแบบราศีกรกฎ

ชาวกรกฎเป็นคนอ่อนหวาน มีเสน่ห์เย้ายวนใจ ขี้อ้อน จนยากที่ใครจะสามารถทนกับความหวานและน่ารักของเขาได้ ชาวกรกฎเป็นคนที่มีความละเอียดอ่อน ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อเขาจะจัดโต๊ะอาหารอย่างสวยงามเพื่อสร้างบรรยากาศ เป็นคนที่ชอบอยู่บ้าน หาอะไรทำไปเรื่อยๆในยามว่าง โดยทั่วไปชาวกรกฎจะเป็นคนที่ค่อนข้างโรแมนติกอยู่แล้ว ทั้งการกระทำและอารมณ์ความรู้สึก แต่ของอย่างนี้ตบมือข้างเดียวไม่ดัง ถ้าคู่รักไม่ตอบสนองหรือสร้างบรรยากาศให้ไปกันได้ ชาวกรกฎก็อาจจะหมดอารมณ์ จนท้ายที่สุดก็จะงอนคุณไปเลย

ความรักของราศีกรกฎ

ชาวกรกฎเป็นผู้ซึ่งมีความเข้าใจและรู้ใจคนที่คบหาได้เป็นอย่างดี ยกเว้นอย่างเดียวคือมักจะจำชื่อคนไม่ค่อยได้ นอกนั้นก็ถือได้ว่าเป็นคนที่ควรจะคบค้าสมาคมด้วยอย่างมากเลยทีเดียว เขาเป็นคนมีน้ำใจและจริงใจ ชาวกรกฎเป็นคนที่มีเสน่ห์ เป็นที่อยากรู้จักของคนทั่วไปแต่สำหรับคู่รัก คงจะต้องทำใจกับความเจ้าเสน่ห์อันนี้ของเขาด้วย ถ้าคุณคือคนที่คบอยู่กับชาวกรกฎ ไม่ว่าจะในฐานะแฟนหรือเพื่อนสนิทคุณควรจะจดจำรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่สำคัญเกี่ยวกับเขาให้ได้ ไม่ว่าจะวันเกิด วันสำคัญ อื่นๆในตัวเขา เพลงที่เขาชอบ อาหารที่ชอบ อะไรทั้งหลายเหล่านี้ถ้าคุณจำได้และหาโอกาสทำอะไรเล็กๆน้อยๆ เพื่อเขาบ้างเขาจะปลื้มใจในตัวคุณมาก

ความสัมพันธ์แบบชาวราศีกรกฎ

ความรักของชาวกรกฎ เป็นในแบบรักน้อยๆ แต่รักนานๆ ความรักของเขาจะไม่ค่อยรีบร้อน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนจะรีบไปทำไม เขาจะทะนุถนอมดูแลความรักของเขาอย่างดี และอุทิศเวลาและทุกอย่างเพื่อให้ความรักของเขาราบรื่นแต่ก็มีบ้างบางครั้งที่จะทำอะไรตามอารมณ์มากเกินไป ดังนั้นคุณควรให้อภัยเขา เพราะชาวกรกฎจริงจังและจริงใจกับความรักมาก นอกจากนั้นชาวกรกฎยังถือได้ว่าเป็นคนที่เหมาะสำหรับเป็นคู่รักที่สุดสำหรับคนที่แสวงหาคนรักในแบบนี้ ต้องการคนคอยดูแลเอาใจใส่ จริงใจและอบอุ่น นั่นล่ะเขา …ชาวกรกฎ

SEX กับราศีกรกฎ

สำหรับชาวกรกฎเรื่องSex เปรียบเสมือน กิจกรรมในยามพักผ่อนของเขา เขาเป็นทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดีในเรื่องนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความพอใจในแต่ละครั้ง นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่ยอมรับอารมณ์ของคู่รักได้เสมอ ในยามที่มีอารมณ์ ความต้องการที่ไม่ตรงกัน ชาวราศีกรกฎถือเป็นคู่รักที่ดีและไม่เคยบกพร่องในเรื่องนี้แต่อย่างใด แล้วอะไรหล่ะที่ชาวราศีกรกฎต้องการ ชาวกรกฎต้องการคนที่ใจเย็น สบายๆ ทำอะไรไม่รีบร้อน และมีความมั่นคงทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้คบกันได้นานเขาต้องการคนที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิดเห็นได้ เพราะเขาคิดว่าความเข้าใจและความสม่ำเสมอ คือหัวใจสำคัญที่สุดในการคบหากัน


ก้าวแกร่งที่ยังต้องสู้ ภาวะผู้นำสตรีเอเชีย

ขณะที่ระบบเศรษฐกิจและสังคมโลกโคจรเข้าหา "เอเชีย" จนอาจเรียกได้ว่าเป็นภูมิภาคตัวแปรสำคัญต่อการกำหนดทิศทางประชาคมโลก

แต่สิ่งหนึ่งซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยังคงเป็นข้อครหาถึงอารยธรรมความเจริญแบบก้ำกึ่งสไตล์เอเชียก็คือ ความไม่เท่าเทียมระหว่างชายหญิง

ถึงอย่างนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมเอเชีย หรือ เอเชีย โซไซตี้ องค์กรไม่หวังผลกำไรในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เปิดผลสำรวจสถานะสตรีเอเชียว่า ไทยและฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำระดับสูง ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดในภูมิภาคถึงร้อยละ 39

รองลงมาคือจีน ที่ร้อยละ 25 อินเดียร้อยละ 14 ส่วนชาติมหาอำนาจของภูมิภาคอย่างญี่ปุ่นกลับรั้งอันดับสุดท้ายเพราะมีผู้นำหญิงเพียงร้อยละ 5






อย่างไรก็ตามทั้งที่บทบาทของผู้นำหญิงในเอเชียมีมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ แต่กลับไม่สามารถลดกระจกกั้นความแตกต่างทางเพศลงได้

ตัวเลขการเปลี่ยนแปลงที่ดูน่ายินดีจึงเป็นเพียงก้าวเล็กๆ ก้าวแรกของผู้หญิงเอเชียในระดับทวีป ไม่ใช่บนเวทีระดับโลก

จากรายงานช่องว่างระหว่างเพศ ประจำปี 2554 โดยที่ประชุมเศรษฐกิจโลก หรือเวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม ระบุว่า 22 ประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก ผู้หญิงนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกาและมองโกเลีย มีบทบาทความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งที่สุด

ในทางกลับกัน ปากีสถาน เนปาล อินเดีย เกาหลีใต้และกัมพูชา คือประเทศที่มีผู้นำหญิงน้อยที่สุด

ส่วนสิงคโปร์ มองโกเลีย มาเลเซียและไทย ติดโผอันดับต้นๆ ในฐานะประเทศสตรีเสรี มีผู้นำหญิงร่วมอยู่ในบอร์ดบริหารของบริษัทเอกชนและภาครัฐ มีความเท่าเทียมในการว่าจ้างและจ่ายเงินเดือน รวมถึงมีการพัฒนาศักยภาพสตรีควบคู่ไปกับวาระหลักๆ ของชาติ

ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียใต้ก็ไม่น้อยหน้า เพราะมีผลสำรวจสวนกระแสสังคมนิยมลิดรอนสิทธิสตรี เมื่อศรีลังกา บังกลาเทศและอินเดีย ติด 3 ใน 5 อันดับ นักการเมืองหญิงผู้มีอำนาจ

เช่นเดียวกับเนปาลและปากีสถานที่มีจำนวนนักการเมืองหญิงในสภาเข้าขั้นท็อปไฟว์

บังกลาเทศเองก็มีรัฐมนตรีหญิงหลายคน ส่วนอินเดีย ปากีสถานและบังกลาเทศยังติดโผจำนวนสตรีนักการเมืองท้องถิ่น

แต่เพราะเหตุผลหลักๆ เป็นไปตามธรรมเนียมนิยม ส่งผลให้สมาชิกเพศหญิงในครอบครัวเลือกที่จะเดินตามเส้นทางสายงานการเมืองของผู้เป็นพ่อ หรือสามี และมีดีกรีเป็นแค่ตัวตายตัวแทน ไม่ได้ถูกยอมรับในฐานะหญิงเก่งที่ลงเล่นการเมือง

ศ.แอทริด เอส. ตูมิเนซ จากโรงเรียนนโยบายสาธารณะลีกวนยูของสิงคโปร์ ผู้รวบรวมรายงาน กล่าวว่าแม้ผู้หญิงจะมีสถานะที่หลากหลายขึ้นในปัจจุบัน แต่ช่องว่างระหว่างรายได้ชายหญิงกลับเป็นประเด็นจุดชนวนชี้ให้เห็นความขัดแย้งของนโยบายสนับสนุนสิทธิสตรีและรูปธรรมจริง โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงทั่วโลกได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายมากถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งในเอเชียมีผู้หญิงกว่า 2 พันล้านคน ได้ค่าจ้างและเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายที่มีหน้าที่การงานใกล้เคียงกัน

ประเทศร่วมภูมิภาคซึ่งมีช่องว่างระหว่างรายได้ห่างกันมากที่สุด คือเกาหลีใต้ เนปาล บังกลาเทศ จีน และญี่ปุ่น

ขณะที่มาเลเซีย สิงคโปร์ มองโกเลียและไทย ติดอันดับประเทศที่มีความแตกต่างของรายได้น้อยที่สุด

สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการยึดติดประเพณีเหยียดเพศของชนชาติในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก ที่ให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกสาว กลายเป็นสังคมเลือกปฏิบัติตั้งแต่เด็กยังไม่ทันเกิด เรื่อยไปจนถึงเข้าสู่วัยเรียน วัยทำงาน ส่งผลต่อปัญหาซ้ำซากของกรณีทำแท้งลูกสาว การทำร้ายผู้หญิง รวมถึงการกีดกันสิทธิสตรี

และด้วยอคติดังกล่าว เด็กผู้หญิงจึงเป็นชนชั้นสอง ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาล โภชนาการและการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กผู้ชายได้

ถึงอย่างนั้นเอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีจำนวนผู้นำหญิงมากที่สุดในโลก และปัจจุบันมีผู้หญิงเป็นผู้นำประเทศถึง 4 คน ได้แก่ นางชีก ฮาสินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ, นางจูเลีย กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย, นางเจนนี ชิพลีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย 

แม้ธรรมเนียมการใช้ชีวิตแบบดั้งเดิมจะเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำนวนหญิงแกร่งแห่งเอเชียซึ่งพร้อมจะยืนแถวหน้าและทำในสิ่งที่ตัวเองรัก มากกว่าก้มหัวยอมรับหน้าที่ซึ่งสังคมกำหนดไว้ให้ก็มีเพิ่มมากขึ้นจนน่าดีใจ

เหลือแค่คนรอบข้างให้โอกาส และไม่ตีค่า "คน" จากเปลือกนอกของความเป็น "หญิง"หรือ "ชาย"


ขอบคุณ: http://www.khaosod.co.th

วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แนวทางการบริหารงานของผู้นำท้องถิ่น

แนวคิดในการบริหารงานเพื่อท้องถิ่น.
เมื่อกล่าวถึงภารกิจของรัฐ แต่เดิมนั้นรัฐมีภารกิจ “เฝ้ายาม” คือ รัฐมีหน้าที่ที่สำคัญ 2 ประการ คือ ป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอกประเทศ และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ แต่ต่อมารัฐสมัยใหม่ได้ขยายภารกิจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกข์สุขของประชาชนมากขึ้น โดยเข้ามาจัดการเรื่องสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ ภารกิจของรัฐสมัยใหม่จึงมีมากและซับซ้อนขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนโดยรวม (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2551, หน้า 166) โดยรัฐเป็นผู้กำหนดและดำเนินการแจกแจงคุณค่าให้แก่สังคมโดยส่วนรวมอย่างเป็นธรรม เมื่อรัฐกระจายอำนาจให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ใช้อำนาจจะต้องก่อให้เกิดผลในการแจกแจงคุณค่าต่าง ๆ ที่ตกถึงประชาชน ให้ประโยชน์แก่คนในท้องถิ่นโดยรวม โดยมิใช่เป็นการกระทำเพื่อผลประโยชน์แอบแฝงต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนทางการเมืองหรือเพื่อการสนับสนุนผลประโยชน์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แนวความคิดเรื่องการบริหารงานเพื่อท้องถิ่นนี้เป็นกรอบทิศทางให้ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบต่อสังคม บริหารงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นส่งเสริมให้เกิดความสมานฉันท์ การมีส่วนร่วม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในท้องถิ่น
            
 เพื่อประมวลแนวความคิดในการบริหารงานภาครัฐและสังเคราะห์กรอบแนวทางการบริหารที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยการบริหารงานของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงได้สำรวจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
             
Northouse (2001, pp. 258-264) เห็นว่า การบริหารที่ดีนั้น ผู้บริหารต้องทำงานอยู่บนหลักจริยธรรมของผู้นำ (principles of ethical leadership) ซึ่งประกอบด้วย
             1. การเคารพผู้อื่น (respect others) โดยยอมรับในความเชื่อ ทัศนคติ และค่านิยมที่แตกต่างกัน
             2. การให้บริการผู้อื่น (serve others) โดยให้ในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์
             3. ให้ความเท่าเทียม (just) ตามความต้องการ ตามสิทธิ ตามความสามารถ ตามการเสียสละ และตามคุณธรรม
             4. มีความซื่อสัตย์ (honest) ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
             5. มุ่งสร้างชุมชน (build community) โดยมีเป้าหมายที่สังคมหรือชุมชนต้องการร่วมกัน


ประมวลจริยธรรมของสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์อเมริกัน (American Society for Public Administration) กำหนดกรอบจริยธรรมของสมาชิกซึ่งเป็นผู้บริหารในองค์การภาครัฐให้รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตวิญญาณในวิชาชีพ (spirit of professional) ไว้ 5 ข้อ ได้แก่ (Rosenbloom, Krarchuck, & Rosenbloom, 2002, pp. 583-584)
             1. ตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะ (serve the public interest)
             2. เคารพรัฐธรรมนูญและกฎหมาย (respect the constitution and the law)
             3. มีความซื่อสัตย์ (demonstrate personal integrity)
             4. ส่งเสริมจริยธรรมในองค์การ (promote ethical organizations)
             5. มุ่งสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพ (strive for professional excellence)
             
Denhardt and Denhardt (2003, pp. 42-43) ได้เสนอหลักการบริหารงานภาครัฐในกระแสของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมโดยให้ความสำคัญกับประชาชนผู้รับบริการไว้ว่า
             1. การให้บริการแก่ประชาชนไม่ใช่การกำกับดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงไม่เพียงแต่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนเท่านั้น แต่ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนด้วย
             2. การสำรวจความสนใจและความต้องการของสาธารณชนเพื่อสร้างความสนใจร่วมและรับผิดชอบร่วมกัน
             3. การให้คุณค่าแก่ประชาชนในฐานะของการเป็นพลเมืองมากกว่าการเป็นผู้ประกอบการ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจะยอมรับที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมมากกว่าการเป็นผู้จัดการธุรกิจที่คิดและทำเสมือนเงินงบประมาณเป็นเงินของตนเอง
             4. การคิดอย่างมีกลยุทธ์แต่ปฏิบัติอย่างเป็นประชาธิปไตย นโยบายและโครงการต่าง ๆ จะสนองความต้องการของสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิผลหากมีการทำงานร่วมกัน
             5. การตระหนักว่าการมีสำนึกรับผิดชอบไม่ใช่เรื่องง่าย เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ควรสนใจแค่เรื่องของการทำงานตามนโยบาย และการอยู่รอดของตน แต่ต้องสนใจเรื่องของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ค่านิยมของชุมชน สังคม บรรทัดฐานทางการเมือง มาตรฐานวิชาชีพและประโยชน์สาธารณะ
             6. มีการสร้างค่านิยมร่วมด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และค่านิยมร่วมกัน
             7. การคำนึงว่าประชาชนเป็นผู้มีคุณค่า ไม่ใช่แค่ผลผลิต หน่วยงานภาครัฐจะประสบความสำเร็จในระยะยาวหากดำเนินการด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและสร้างการเป็นผู้นำร่วมกับประชาชนบนพื้นฐานของการเคารพประชาชน
             
Downs (1968, p. 68) เห็นว่า ในทางการบริหาร อุดมการณ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ทั้งในองค์การและนอกองค์การ อุดมการณ์นี้ถูกกำหนดขึ้นจากประสบการณ์ ความสำนึกร่วมกันของคนในองค์การ และการชี้นำของเจ้าหน้าที่ระดับสูง เพื่อให้เป็นเครื่องชี้นำให้การปฏิบัติงานขององค์การบรรลุเป้าหมาย
             
Lewis and Gilman (2005, pp. 36-37) ได้ศึกษาค่านิยมร่วม (core values) ของกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development--OECD) ที่ได้กำหนดค่านิยมร่วมของการบริหารภาครัฐ (public service) เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐถือปฏิบัติ ซึ่งพบว่าในปี ค.ศ. 2000 ประเทศต่าง ๆ กำหนดค่านิยมร่วมที่เหมือนกันถึง 8 ประการ คือ
             1. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง (impartiality)
             2. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (legality)
             3. ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีคุณธรรม (integrity)
             4. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส (transparency)
             5. ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ (efficiency)
             6. ปฏิบัติต่อผู้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน (equality)
             7. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ (responsibility)
             8. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม (justice)
            
 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการและพนักงาน หรือลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบและเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำค่านิยมสร้างสรรค์และจรรยาบรรณให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือปฏิบัติ ซึ่งค่านิยมสร้างสรรค์ 5 ประการ ได้แก่
             1. กล้ายืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง (moral courage) โดยยึดมั่นในความถูกต้องดีงามความชอบธรรม ความเสียสละ หลักวิชาและจรรยาวิชาชีพ ไม่โอนอ่อนตามอิทธิพล
             2. มีคุณธรรมและความรับผิดชอบ (integrity) ปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมาแยกเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การงาน มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ต่อผลงานองค์การ และประชาชน
             3. โปร่งใสตรวจสอบได้ (transparency) ปรับปรุงกลไกและวิธีการทำงานให้มีความชัดเจน โปร่งใส สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และพร้อมเปิดเผยข้อมูลอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย
             4. ไม่เลือกปฏิบัติ (nondiscrimination) ให้บริการโดยเสมอภาค เป็นธรรม เน้นความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และถูกต้อง ด้วยความมีน้ำใจเมตตา
             5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (result orientation) โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล งานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ เกิดผลดีต่อหน่วยงานและส่วนรวม โดยใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า


พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2546 (2546) ได้กำหนดหลักการบริหารราชการที่มีคุณภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม มีการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก มีผลใช้บังคับการองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยนั้น ประกอบด้วยหลัก 6 ประการ คือ
             1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับโดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจหรืออำนาจของตัวบุคคล
             2. หลักคุณธรรม ได้แก่ การส่งเสริมคนดีคนเก่ง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงามเจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต
             3. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติปรับปรุงการทำงานให้มีความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
             4. หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ
             5. หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะ และกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน
             6. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม ประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า ดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์

จากแนวความคิดดังกล่าว สามารถประมวลแนวคิดของการบริหารงานภาครัฐได้ ดังนี้

             จากแนวคิดการบริหารภาครัฐดังกล่าว นำมาสังเคราะห์ลักษณะร่วมเป็นกรอบความคิด (concept) และคำจำกัดความ ได้ว่า การบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อท้องถิ่นของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การบริหารงานที่มุ่งบรรลุเป้าหมายโดยคำนึงถึงมิติดังต่อไปนี้
             1. การคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล (efficiency& effectiveness) หมายถึง การบริหารงานอย่างมีระเบียบแบบแผน การทำงานเป็นทีม การนำความทันสมัยมาใช้ในงาน การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ร่วมงาน และความมุ่งมั่นในความสำเร็จ
             2. ความรับผิดชอบต่อสังคม (responsiveness) หมายถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน การตระหนักถึงปัญหาของสังคม ความรวดเร็วในการแก้ปัญหา และการมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
             3. การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น (relevance) หมายถึงการตอบสนองต่อประชาชนในท้องถิ่นอย่างเท่าเทียมกัน การให้ความสำคัญกับประชาชนกลุ่มน้อย และการแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงสภาพที่แท้จริงของท้องถิ่น
             4. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงาน (participation) หมายถึง การยอมรับความแตกต่างทางความคิด การยอมรับฟังความเห็นจากประชาชน การเปิดเผยข้อมูล และการยอมรับการตรวจสอบจากผู้เกี่ยวข้อง
             5. ความซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส (honest, justice & transparency) หมายถึงการบริหารงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การไม่ทุจริต การยึดถือหลักคุณธรรม (merit) และความโปร่งใสในการบริหารงาน
             6. ความมีจริยธรรมและเคารพกฎหมาย (legality-morality) หมายถึง การปฏิบัติตนภายในกรอบของกฎหมายและจริยธรรมเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมดังนั้น จึงกำหนดฐานคติของการวิจัยไว้ว่า ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้นำตามกฎหมายที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนและต้องรับผิดชอบต่อประชาชนตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติจึงต้องบริหารงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นด้วยการจัดสรรและกระจายคุณค่าให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น และให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะต้องยึดถือประโยชน์สุขและความต้องการของประชาชนเป็นหลัก (citizen centric) ตามกรอบความคิดการบริหารงานทั้ง 6 มิติ

บรรณานุกรม
บุญแสง ชีระภากร. (2552). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2551). การทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน. ปัจฉิมบท คตส. พันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน, 1, 166-170.
Denhardt, J., & Denhardt, R. (2003). The new public service: Serving not steering. New York: Sharpe.
Downs, A. (1968). Inside bureaucracy. Boston: Little, Brown.
Northouse, P. G. (2001). Leadership: Theory and practice (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage.
Rosenbloom, D. H., Krarchuck, R. S., & Rosenbloom, D. G. (2002). Public administration, understanding management, politics, and law in the public sector (5th ed.). New York: McGraw-Hill.
Lewis, C. W., & Gilman, S. C. (2005). The ethics challenge in public service: A problem-solving guide (2nd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

"ยิ่งลักษณ์" เล่าเรื่องหลังไมค์ "หัวอกลูกผู้หญิง" 3 ผู้นำสตรีบนเวทีโลก





ขอย้อนไปเมื่อช่วงปลายเดือน มีนาคม (24-27) 55 น.ส ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการ และยังได้เข้าร่วมหารือในหัวข้อ National Measures and International Cooperration to Enhance Nuclear Security พร้อมกับผู้นำจากทั่วโลกกว่า 53 ประเทศ

แน่นอนว่าทั้งสื่อของสาธารณรัฐเกาหลีและของไทย ต่างติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในการเยือนแดนกิมจิครั้งนี้ทุกฝีก้าว แม้กระทั่งนายกฯหญิงของไทยสวมฮันบกชุดประจำชาติของเกาหลี เป็นที่ฮือฮาเมื่อสื่อหลายสำนักนำไปเผยแพร่

กระทั่งล่าสุดภาพการประชุมผู้นำจากทั่วโลก สื่อหลายสำนักก็ให้ความสนใจในตัวนายกรัฐมนตรีหญิง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ของไทยเท่านั้น แต่ยังมีนายกรัฐมนตรีหญิงของประเทศเดนมาร์กและออสเตรเลียร่วมในเวทีระดับโลกนี้ด้วย

เวทีนี้จัดให้ผู้นำหญิงทั้ง 3 คนได้นั่งชิดติดกัน และมีภาพที่เหล่านายกฯหญิงต่างหันมากระซิบกระซาบกัน โดยมีนายกฯของไทยนั่งตรงกลาง ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ทำให้สตรีทั้ง 3 คน สนิทสนมกันจนกระทั่งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสิ่งที่ผู้นำหญิงต้องเผชิญเหมือนกันระหว่างที่ดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศ


นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกฯไทย



นางจูเลีย  กิลลาร์ด นายกฯออสเตรเลีย 



นางเฮลลี่ ธอร์นนิ่ง ชมิดท์ นายกฯเดนมาร์ก 

ตามที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ว่า ได้พบปะแลกเปลี่ยนกับ 2 ผู้นำหญิง ที่มีหัวอกเดียวกันในฐานะเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศ กับ นางเฮลลี่ ธอร์นนิ่ง ชมิดท์ นายกฯเดนมาร์ก วัย 45 ปี และนางจูเลีย กิลลาร์ด นายกฯออสเตรเลีย วัย 50 ปี 

"สิ่งที่แลกเปลี่ยนมุมมองคล้าย ๆ กัน คือความเป็นผู้นำหญิงอาจจะเจอเรื่องการคาดหวังค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำหญิงที่ต้องพิสูจน์ และเท่าที่ดูทั้ง 3 คนกำลังใจดี ยิ่งต้องให้พิสูจน์ยิ่งต้องทำให้คนเห็นว่าเราทำได้ ต้องทำด้วยความอดทน และผลงานเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ กับเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายมุมมอง 

ดิฉันได้พูดคุยกับผู้นำหญิง 2 ประเทศว่า วันนี้ประเทศไทยเรามีนโยบายสตรีที่ชัดเจน ได้แชร์มุมมองว่า ดิฉันเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศไทย อยากทำอะไรในส่วนผู้หญิงบ้าง แต่ไม่ใช่ทำแค่ผู้หญิงอย่างเดียว แต่ให้บทบาทผู้หญิงเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้หญิงเหมือนกัน อาศัยกระบวนการความเข้าใจ สร้างให้ผู้หญิงเข้ามามีโอกาสเป็นผู้นำทางสังคม ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน เพื่อให้สุดท้ายแล้ว เป็นส่วนในการเสริมสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป" 

ทั้งนี้ปัญหาที่ผู้นำหญิงทั้ง 3 คนได้เผชิญคล้าย ๆ กันก็คือ เรื่องการแต่งกาย น.ส.ยิ่งลักษณ์เล่าว่า ผู้นำทั้ง 3 ประเทศเจอแบบเดียวกัน คือถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการแต่งตัว แต่เราก็มองแบบเดียวกันว่าเป็นธรรมชาติผู้หญิง ที่คนเราก็ต้องมีการรักสวยรักงามบ้าง ที่สำคัญต้องแต่งกายให้เหมาะสมถูกกาลเทศะ ถือว่าเป็นหน้าตาของประเทศด้วย 

"น่าเสียดายที่ไม่มีโอกาสในการพูดคุยเรื่องทิศทางการบริหารและผลงานของแต่ละคน แต่ทุกคนให้กำลังใจกันและกัน เพราะมีหัวอกเดียวกัน ต้องอดทน และพิสูจน์ผลงานเท่านั้น"

นายกฯยิ่งลักษณ์ยกตัวอย่างการเจรจากับผู้นำหญิงออสเตรเลีย ที่เริ่มผ่านบทพิสูจน์ไปแล้วขั้นหนึ่งจนสุดท้ายคนในพรรคให้การยอมรับ ส่วนนายกฯเดนมาร์กเพิ่งเป็นนายกฯได้ 6 เดือน แต่อันที่จริงเขาอยู่ในวงการการเมืองมาตั้งแต่อายุ 27 ปี

โอกาสที่ผู้นำหญิงทั้ง 3 คนจะได้มาเจอกันในเวทีโลกไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อได้พบกันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเธอจะหันหน้าเข้าหากันแล้วปรับทุกข์ตามประสาสตรีบนเก้าอี้ผู้นำสูงสุดในการบริหารของประเทศ
"สิ่งที่แลกเปลี่ยนมุมมองคล้าย ๆ กัน คือความเป็นผู้นำหญิงอาจจะเจอเรื่องการคาดหวังค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นบทบาทผู้นำหญิงที่ต้องพิสูจน์ และเท่าที่ดูทั้ง 3 คนกำลังใจดี ยิ่งต้องให้พิสูจน์ยิ่งต้องทำให้คนเห็นว่าเราทำได้ ต้องทำด้วยความอดทน และผลงานเท่านั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ กับเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์หลายมุมมอง 

"ดิฉันได้พูดคุยกับผู้นำหญิง 2 ประเทศว่า วันนี้ประเทศไทยเรามีนโยบายสตรีที่ชัดเจน ได้แชร์มุมมองว่า ดิฉันเป็นผู้นำหญิงคนแรกของประเทศไทย อยากทำอะไรในส่วนผู้หญิงบ้าง แต่ไม่ใช่ทำแค่ผู้หญิงอย่างเดียว แต่ให้บทบาทผู้หญิงเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ ในฐานะผู้หญิงเหมือนกัน อาศัยกระบวนการความเข้าใจ สร้างให้ผู้หญิงเข้ามามีโอกาสเป็นผู้นำทางสังคม ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน เพื่อให้สุดท้ายแล้ว เป็นส่วนในการเสริมสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป" 
ทั้งนี้ปัญหาที่ผู้นำหญิงทั้ง 3 คนได้เผชิญคล้าย ๆ กันก็คือ เรื่องการแต่งกาย น.ส.ยิ่งลักษณ์เล่าว่า ผู้นำทั้ง 3 ประเทศเจอแบบเดียวกัน คือถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการแต่งตัว แต่เราก็มองแบบเดียวกันว่าเป็นธรรมชาติผู้หญิง ที่คนเราก็ต้องมีการรักสวยรักงามบ้าง ที่สำคัญต้องแต่งกายให้เหมาะสมถูกกาลเทศะ ถือว่าเป็นหน้าตาของประเทศด้วย 

"น่าเสียดายที่ไม่มีโอกาสในการพูดคุยเรื่องทิศทางการบริหารและผลงานของแต่ละคน แต่ทุกคนให้กำลังใจกันและกัน เพราะมีหัวอกเดียวกัน ต้องอดทน และพิสูจน์ผลงานเท่านั้น"
นายกฯยิ่งลักษณ์ยกตัวอย่างการเจรจากับผู้นำหญิงออสเตรเลีย ที่เริ่มผ่านบทพิสูจน์ไปแล้วขั้นหนึ่งจนสุดท้ายคนในพรรคให้การยอมรับ ส่วนนายกฯเดนมาร์กเพิ่งเป็นนายกฯได้ 6 เดือน แต่อันที่จริงเขาอยู่ในวงการการเมืองมาตั้งแต่อายุ 27 ปี

โอกาสที่ผู้นำหญิงทั้ง 3 คนจะได้มาเจอกันในเวทีโลกไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อได้พบกันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พวกเธอจะหันหน้าเข้าหากันแล้วปรับทุกข์ตามประสาสตรีบนเก้าอี้ผู้นำสูงสุดในการบริหารของประเทศ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไทยครองแชมป์ ประเทศที่มีผู้นำหญิง มากสุดในเอเชีย



สมาคมเอเชีย (เอเชีย โซไซตี) ซึ่งเป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร ได้ทำการสำรวจจัดอันดับประเทศ สภานะของผู้หญิงที่มีบทบาท ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งผลการสำรวจระบุว่า
ประเทศไทยและะฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีผู้หญิงดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูงในภาคเศรษฐกิจและการเมืองมากที่สุดในเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39 รองลงมาได้แก่ประเทศ จีน ร้อยละ 25 และอินเดียร้อยละ 25 ซึ่งอันดับสุดท้ายของผลสำรวจ คือ ประเทศญี่ปุ่นที่มีผลสำรวจเป็นอันดับสุดท้ายเพียงแค่ร้อยละ 5 เท่านั้น


ผลสำรวจยังระบุว่า แม้ว่าผู้หญิงจะมีบทบาทมากขึ้นทางการเมือง แต่ยังคงมีช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ชายและผู้หญิงที่ทำหน้าที่การงานใกล้เคียงกันก็ยังมีอยู่มาก ซึ่ง ผู้หญิงทั่วโลกได้รับเงินเดือนน้อยกว่าผู้ชายประมาณ 20-30% แต่ในส่วนของประเทศไทยยังถือว่ามีความแตกต่างของรายได้ชาย และหญิงยังน้อยอยู่
ส่วนประเทศที่ผู้หญิงมีบทบาทความเป็นผู้นำแข็งแกร่งที่สุดในโลกได้แก่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกาและมองโกเลีย ส่วนประเทศที่มีผู้นำหญิงน้อยที่สุด ได้แก่ ปากีสถาน เนปาล อินเดีย เกาหลีใต้และกัมพูชา





ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการ




ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการในองค์การของรัฐส่วนใหญ่จะเรียก "ผู้นำหรือผู้บริหาร" ส่วนองค์การธุรกิจนิยมเรียก "ผู้จัดการ" (Management) ได้มีการศึกษาลักษณะของ "ผู้นำ" (Leaders) และ "ผู้จัดการ" (Managers) มานานแล้ว และพบว่าบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันหลายด้านเช่น แรงจูงใจ ความเป็นมา วิธีคิด และการปฏิบัติงาน

ดังที่นักศึกษาวิจัยสรุปไว้ดังต่อไปนี้ เบนนิส และนานัส (Bennis and Nanus, 1985 : 21) ได้สรุปว่า "ผู้จัดการคือ บุคคลที่ทำให้งานสำเร็จ ส่วนผู้นำคือ บุคคลที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูก
managers are people who do things right and leaders are people who do the right things"

หมายความว่า ผู้จัดการ คือ บุคคลที่สนใจแต่จะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ โดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใดต่างจากผู้นำที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของงานรวมทั้งผลกระทบต่อบุคลากรและองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด

รอบบินส ์ (Robbins, 1989 : 303) ได้อ้างถึงการศึกษาของซาเลสนิค (Zalesnik, 1986 : 54) และสรุปความแตกต่างของบุคคลสองกลุ่มไว้ดังนี้
  1. ผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะยอมรับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์การ โดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวไปพิจารณา หรือเกี่ยวข้องด้วย ในขณะที่ผู้นำจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณาเป้าหมายขององค์การก่อนที่จะปฏิบัติตาม
  2. ผู้จัดการจะมองการทำงานว่าเป็นกระบวนการความสามารถ ที่ประกอบไปด้วยคนและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรวิธีการทำงานและตัดสินใจที่ดีที่สุดในขณะที่ผู้นำ ทำงานในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง ต้องพยายามไม่ใช้อารมณ์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจจะเกิดกับตนเอง โดยเฉพาะผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งที่มีโอกาส และสิ่งตอบแทนค่อนข้างสูง
  3. ผู้จัดการชอบที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นมากกว่าการทำงานใด ๆ ด้วยตนเอง คนเดียว เพราะไม่ต้องการมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับงานนั้น ผู้จัดการจะมีความสัมพันธ์เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการตัดสินใจต่างกับผู้นำที่งานมักจะเกี่ยวข้องกับความคิดมากกว่าคน แต่ถ้ามีความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ก็จะมีโดยสามัญสำนึก และพยายามจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของบุคคลเหล่านั้นด้วย 4. ผู้จัดการต้องการคำสั่งหรือคำชี้แนะที่ชัดเจน เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจ หรือ เหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้นำมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจ ได้ โดยไม่ห่วงกังวลว่าจะกระทบต่อบุคคลรอบข้างมากนัก
แฮนสัน (Hanson, 1985 : 178) ได้กล่าวว่า คำว่า ผู้นำ (Leader) ผู้จัดการ (Manger) และผู้บริหาร (Administrator) ได้มีการใช้แทนกันตลอดเวลา แม้นว่าจะยอมรับว่ามีความแตกต่าง ผู้จัดการและผู้บริหารค่อนข้างจะมีความหมายใกล้เคียงกัน แม้นว่าในอดีตที่ผ่านมา ผู้จัดการดูจะมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้บริหาร ซึ่งมักปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นงานประจำมากกว่า แฮนสันได้เน้นให้เห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำนั้นอย่างน้อยจะมี 2 ทางคือ
  • ผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์การว่าจะไปทิศทางใด และจะต้องใช้ความสามารถในการชักจูง ทำให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่ต้องการจนประสบความสำเร็จ
  • ในขณะที่ผู้จัดการเพียงแต่ให้ความสนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การว่าจ้าง การประเมินบุคลากรการจัดสรรทรัพยากรการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานและอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จ สรุปว่ามุ่งสนใจปฏิบัติงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดเท่านั้น
ถึงแม้นว่าคำว่า ผู้นำ ผู้จัดการ ผู้บริหารจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็นิยมที่จะใช้แทนกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวพันถึงองค์การที่เขาบริหารอยู่ดีขึ้น