วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทศลักษณ์ผู้นำ...?




"ผู้นำ" เป็นผู้กำหนดชะตากรรมของคน ขององค์กร ของประเทศ
คน องค์กร ประเทศ จะเป็นอย่างไร
จึงขึ้นอยู่กับภาวะผู้นำของคนที่เป็นผู้นำเป็นสำคัญ


ความสำคัญของผู้นำมีอยู่อย่างไร
จะเห็นได้จากพุทธดำรัสของพระพุทธองค์ที่ตรัสว่า...
"ผู้นำเหมือนโคจ่าฝูง
หากโคจ่าฝูงนำไปคด ผู้ตามก็คด
หากโคจ่าฝูงนำไปตรง ผู้ตามก็ตรง"

หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
"ผู้นำเป็นอย่างไร ผู้ตามก็เป็นอย่างนั้น"


ประเภทของผู้นำ

ก.ทฤษฎีของผู้รู้
1. ผู้นำแบบคนขับรถไฟ (ทำงานตามระบบที่วางไว้- -ไม่สร้างสรรค์)
2. ผู้นำแบบนายแพทย์ (มีปัญหาจึงลุกขึ้นมานำ)
3. ผู้นำแบบชาวนา (นำเฉพาะที่- -รอให้มีคำสั่งจากหน่วยเหนือ)
4. ผู้นำแบบชาวประมง (กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้ารับผิดชอบ)

ข.ทฤษฎีของ ว.วชิรเมธี
1. ผู้นำ คือ ผู้อาวุโส
2. ผู้นำ คือ ผู้ดำรงตำแหน่ง
3. ผู้นำ คือ นอมินี(ร่างทรง)
4. ผู้นำ คือ ผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ทศลักษณ์ของผู้นำ

1. มีความรู้ดี
   1.1 รู้เหตุ(รู้หลักการ/What)
   1.2 รู้ผล(รู้วัตถุประสงค์/Why)
   1.3 รู้ตน
   1.4 รู้ประมาณ
   1.5 รู้กาล
   1.6 รู้สังคม
   1.7 รู้บุคคล(ความแตกต่างระหว่างบุคคล)
2. มีความสามารถดี
3. มีวิสัยทัศน์ดี
4. มีจิตสำนึกดี
5. มีบุคลิกภาพดี
6. มีการบริหารจัดการดี
7. มีเพื่อนร่วมงานดี
8. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
9. มีสุขภาพดี
10. มีประวัติดี


ผู้นำที่พึงประสงค์ ก็คือ ผู้นำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำชนิดนี้ จะมีภาวะผู้นำอยู่ในตัวเอง
กล่าวคือ เขาจะลุกขึ้นมานำโดยที่ไม่ต้องรอให้ใครมาแต่งตั้ง
หากแต่การนำนั้น เกิดจากการมีวิสัยทัศน์และการมีจิตสำนึกสูง
อันเนื่องมาจากการตระหนักรู้ว่า
หากไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างหนึ่ง
ปัญหาไม่เพียงแต่จะไม่ได้รับการแก้ไข
แต่จะลุกลามใหญ่โต ทำให้เดือดร้อนกันไปทั่ว

         


       ผู้นำชนิดนี้ ก็เช่น
         มหาตมะ คานธี หรือ ดร.มาร์ติน ลูเธอร์ คิงส์ จูเนียร์
          ทั้งสองท่านเป็นผู้นำในการเรียกร้องสิทธิพลเมืองให้แก่คนผิวดำ
         (คานธีที่แอฟริกาใต้ ลูเธอร์ คิงส์ ที่สหรัฐอเมริกา)
          จนคนผิวดำมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ทัดเทียมกับคนผิวขาว

                                    



                         เฉพาะที่อเมริกานั้น ก้าวหน้าไปไกลถึงขั้นที่ปัจจุบันมีประธานาธิบดีผิวสีเป็นคนแรก
                                                           นั่นก็คือ บารัค โอบามา
                       ซึ่งหากไม่ใช่เพราะอานิสงส์ของการลงแรงมาอย่างยากลำบากของลูเธอร์ คิงส์แล้ว
                                            บารัค โอบามา ก็คงยากที่จะประสบความสำเร็จ
                          จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกได้


                                
<><>

                                                    ผู้นำทั่วไปนั้น จะนำก็ต่อเมื่อได้รับการมอบหมายให้นำ
                                                                นี่นับเป็นผู้นำธรรมดา ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น

                                               ผู้นำขั้นสูงที่ควรแก่การกล่าวว่าเป็น "วินายโก"(ผู้นำเหนือผู้นำ)
                                                      ก็คือ ผู้นำที่มีธรรมชาติของการเป็นผู้นำอยู่ในจิตสำนึกสูง
                                                                 เพียงเห็น"แวว"ของปัญหา ก็ลุกขึ้นมานำ
                                                     และเมื่อนำแล้ว ก็ไม่เรียกร้องต้องการสิ่งใดเป็นการตอบแทน
                                                                  เพราะเขาถือว่า
 การแก้ปัญหาได้สำเร็จ
                                              นั่นแหละคือบำเหน็จที่สูงค่าที่สุดแล้วสำหรับภาวะผู้นำของเขา
                                                                                 โดย ว.วชิรเมธี

ขอบคุณ : http://awc51.com/webboard/index.php?topic=473.0

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

"ไทมส์" จัดอันดับผู้นำโลกที่ทรงอิทธิพลและสูงอายุที่สุด

 




อันดับ 10. "ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี"
ตำแหน่ง: นายกรัฐมนตรีอิตาลีอายุ: 74ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 8 ปี
แบร์ลุสโคนี เป็นหนึ่งในผู้นำ กลุ่มประเทศยุโรปที่มีข่าวอื้อฉาวมากที่สุด อดีตนักธุรกิจ และเจ้าแห่งวงการสื่อผู้นี้ ขึ้นสู่จุดสูงสุดของอาชีพตั้งแต่ปี 1994 และติดอันดับบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดอันดับที่ 51 ประจำปี 2010 จากการจัดอันดับของฟอร์บส์ โดยมีทรัพย์สินรวมทั้งหมด 11,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ349,040ล้านบาท) และยังเป็นผู้นำกลุ่มประเทศ จี 8 ยาวนานที่สุด ถนนสายการเมืองของ แบร์ลุสโคนี เต็มไปด้วยข้อครหาเกี่ยวกับเรื่องชู้สาว กับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ นับตั้งแต่คบค้าสมาคมกับแก๊งมาเฟีย แต่ทั้งนี้ เสียงส่วนใหญ่ในคณะรัฐบาลอิตาลี ก็ยังยืนหยัดอยู่ข้างเขา ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้ แบร์ลุสโคนี  กล่าวคำปราศรัยเมื่อปีที่แล้วที่ว่า "ประชาชนต้องการผมในแบบที่ผมเป็น คนอิตาลียังคงต้องการผม"



อันดับ 9. "ตาน ฉ่วย"
ตำแหน่ง: ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐพม่าอายุ: 77 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 18 ปี
ตาน ฉ่วย เคยเป็นพนักงานไปรษณี ก่อนเข้าร่วมกองทัพในปี 1953 หลังจากที่ทหารเข้ายึดอำนาจจากการก่อรัฐประหารในอีก 9 ปีต่อมา เขาเริ่มทำงานหนักเพื่อหาโอกาศก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน จนในที่สุดก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ในสถาบันรัฐศาสตร์ส่วนกลาง เขาอยู่รอดจากการกวาดล้างภายในของรัฐ และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำรัฐบาลแทนที่นายซอว์ เมือง ในปี 1992 เมื่อตาน ฉ่วย ได้รับอำนาจก็มีการคาดการล่วงหน้าว่า เขาจะมีความเป็นกลางมากพอ แต่การปฏิรูปประชาธิปไตยที่หลายคนหวังก็ไม่เกิดขึ้น ตาน ฉ่วย ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมหารือกับผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยของประเทศอย่าง นาง ออง ซาน ซู จี ซึ่งถูกกักบริเวณตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 1989 ระบบการปกครองอันโหดร้ายของเขา พังทลายลงจากการประท้วงของกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนมากในปี 2007 ทำให้ต้องย้ายที่อยู่จากย่างกุ้งเมืองหลวงของประเทศ ไปอยู่ในสถานที่ลับที่ซ่อนอยู่ภายในประเทศ ตาน ฉ่วย ไม่ค่อยปรากฏตัวต่อหน้าสาธรณชนนัก มีข่าวลือว่าสุขภาพของเขาเริ่มย่ำแย่ลงเมื่อเขาเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อรักษาอาการป่วยอย่างลับๆ




อันดับ 8. "มานโมฮัน ซิงห์"
ตำแหน่ง: นายกรัฐมนตรีอินเดียอายุ: 78 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 6 ปี
ซิงห์ สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยปันจาบ และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ภายหลักได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เขาเป็นผู้นับถือศาสนาซิกห์คนแรก ที่ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของอินเดีย ในปีนี้ ไทมส์ จัดให้เขาติด 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก และนิวส์วีคก็จัดให้เขาอยู่ในทำเนียบ 10 ผู้นำที่น่าเคารพที่สุดขนานนาม ว่า "ผู้นำที่ผู้นำคนอื่นเคารพรัก" เมื่อเขาเข้ารับตำแหน่งในปี 2004 ได้ผลักดันการเปิดเสรีในบางรัฐ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม และสนับสนุนการลงทุนกับต่างชาติ การปฏิรูปต่างๆนี้ช่วยพัฒนาให้เศรษฐกิจเติบโต ในขณะที่ยังสามารถใช้กฎหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนหลายร้อยล้านในเขตชนบทยากจนในอินเดีย การเลือกตั้งเมื่อปีก่อนพรรคของเขาคืนสู่อำนาจอีกครั้ง ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉัน แต่นักวิเคราะห์กล่าวว่า นายซิงห์สนิทชิดเชื้อกับวอชิงตันมากเกินไป และเหมือนตกเป็นข้ารับ เนห์รู-คานธี ของสภาคองเกรส






อันดับ 7. "มไว คีบาคี"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีเคนยาอายุ:  78 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 7 ปี
คีบาคี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาเกเลเล ในอูกานดา ก่อนได้รับทุนการศึกษาไปศึกษาต่อที่วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาจบการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดในชั้นเรียน เคยเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้เคนยา จากสหราชอาณาจักร ก่อนที่ประเทศจะได้รับอิสรภาพในปี 1963 ในปี 1974 นิตยสารไทม์ได้จัดให้เขาเป็น 1 ใน 100 บุคคล ที่มีศักยภาพความเป็นผู้นำสูงสุด เมื่อเขาชนะการเลือกตั้งอย่างขาดลอยในปี 2002 ได้ปฏิญาณว่า จะยุติปัญหาการทุจริตของรัฐบาลที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศย่ำแย่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เขาชนะการเลือกตั้งในปี 2007 เขาก็ถูกกล่าวหาว่าทุจริตการเลือกตั้ง และเกิดการประท้วงขึ้นทำให้มีเหตุรุนแรงบานปลายระหว่างกลุ่มชาติพันธ์หลายกลุ่มในเคนยา ไม่กี่เดือนหลังจากการเลือกตั้ง คีบาคี และไรลา โอดินกา หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ลงนามในการแบ่งอำนาจทำให้นายโอดินกาได้รับตำแหน่งใหม่เป็นนายกรัฐมนตรี






อันดับ 6. "ราอูล คาสโทร"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีคิวบาอายุ: 79 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 4 ปี
ราอูล คาสโตร นับว่าทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของคิวบา เมื่อพี่ชายของเขา ฟิเดล คาสโตร ต้องเข้ารับการรักษาโรคกระเพาะอาหารรุนแรง ในปี 2008 หลังจากที่ ฟิเดล ประกาศว่า ไม่พร้อมที่จะรับการเลือกตั้งใหม่ ราอูลจึงถูกโหวดให้เป็นประธานาธิบดี ราอูล และภรรยานางวิลมา เอสปิน กิลโลอิส ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2007 และเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของคิวบา เป็นตัวแปรสำคัญในการโค่นล้มรัฐบาลอเมริกันที่เป็นมิตรประเทศ และแทนที่การปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ นำโดยนายฟิเดล ในช่วง 2-3 เดือนแรกของราอูล ในฐานะผู้นำเขาดำเนินการปฏิรูปต่าง ๆ รวมถึงเปิดกว้างสำหรับองค์กรเอกชนมากขึ้น ยกเลิกการจำจัดรายได้ และการอนุญาตให้ประชาชนคิวบามีโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ส่วนตัวได้ หลายคนคาดหวังการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากคาสโตรคนน้อง




อันดับ 5. "ฮุสนี มูบารัก"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีอียิปต์อายุ: 82 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 28 ปี
มูบารัก ได้รับอำนาจหลังจากการลอบสังหารประธานาธิบดีคนก่อน โดยนายทหารฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกอียิปต์-อิสราเอล เขาปกครองภายใต้กฎหมายฉุกเฉินหรือ “ภาวะฉุกเฉิน” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลสามารถจับกุมบุคคลได้โดยไม่ต้องมีข้อกล่าวหา ริบเงินของฝ่ายปรปักษ์ และยกเลิกการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ช่วงเวลาในการครองอำนาจของเขา เป็นที่จดจำจากการพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศอาหรับอื่น ๆ และการสร้างความสัมพันธ์ทางพลเรือนกับอิสราเอล เขาสนับสนุนคำขอของซาอุดีอาระเบียเรื่องการแทรกแซงของอเมริกัน เพื่อช่วยปลดปล่อยคูเวตจากการรุกรานของอิรักในปี 1990-91 และได้รับการช่วยเหลือทางการทหาร และการเงินอย่างมีนัยสำคัญจากวอชิงตัน ทั้งนี้นายมูบารักรอดจากการพยายามลอบสังหารถึง 6 ครั้งด้วยกัน




อันดับ 4. "อับดุลไร วัส"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีเซเนกัลอายุ: 84 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 10 ปี
วัส เฝ้าคอยมายาวนานเพื่อที่จะขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพ เขาลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1978 หลังจากไม่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 4 ในปี 1993 วัด ถูกจับกุมข้อหาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดการฆาตกรรมนายบาบาการ์ เซย์รองประธานที่ 1 ของศาลรัฐธรรมนูญ ปีถัดมาเขาถูกจับข้อหายุยงให้เกิดการก่อจลาจลต่อต้านรัฐบาล แต่ข้อกล่าวหาทั้งสองถูกยกฟ้อง ในที่สุดเขาก็ชนะการเลือกตั้งในปี 2000 และเป็นบุคคลแรกที่เลือกตั้งชนะพรรคสังคมนิยม ตั้งแต่การประกาศอิสรภาพของเซเนกัลเมื่อปี 1960 ก่อนที่เขาจะเป็นนักการเมืองนั้น เขาศึกษาทั้งในประเทศฝรั่งเศสและเซเนกัล โดนได้รับวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขากฎหมายและเศรษฐศาสตร์ จากซอร์บอนน์ แม้ว่าเขาจะเกิดในปี 1926 แต่สิทธิบางอย่างก็ยังเร็วเกินไป เมื่อต้นปี วัด ตกเป็นที่โจษจันของนานาชาติ กรณีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง อาฟริกา เรเนสซอง ที่สูงถึง 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถูกวิจารณ์มากมายว่าเป็นการสิ้นเปลืองเงินทุนของรัฐบาล




อันดับ3. "เอลิซาเบธ อเล็กซานดรา แมรี วินด์เซอร์"
ตำแหน่ง: สมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรอายุ: 84 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 58 ปี
แม้ว่าจะครองราชมานานหลายทศวรรษแล้ว แต่สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ก็ยังไม่สามารถทำลายสถิติการครองราชของสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ซึ่งครองราชเป็นเวลายาวนานถึง 63 ปี กับอีก 7 เดือนได้ ในรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในจักรวรรดิของพระนาง ระหว่างปี 1956 และ 1992 กว่าครึ่งของราชอาณาจักรของพระนางได้กลายมาเป็นรัฐอิสระ พระนางได้พัฒนาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นไปตามยุคสมัย โดยอนุญาตให้เผยแพร่กิจวัตรของคนในราชวงศ์ได้เมื่อปี 1970




อันดับ 2. "โรเบิร์ต มูกาเบ"
ตำแหน่ง: ประธานาธิบดีซิมบับเวอายุ: 86ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 30ปี
มูกาเบ ลูกชายของช่างไม้ประจำหมู่บ้าน เป็นบุคคลที่พบเจอบ่อยที่สุดในข่าวต่างประเทศยามค่ำคืน ในสมัยสงครามกลางเมืองที่ประเทศโรเดเซียน ซึ่งตอนนี้กลายเป็น ซิมบับเว แล้ว เขาเป็นผู้นำแนวหน้าของกลุ่มผู้รักชาติ เป็นกลุ่มต่อต้ากฎหมายเลือกปฏิบัติของรัฐบาลคนผิวขาว ในช่วงสิ้นสุดสงครามพรรค " ZANU-PF" ของมูกาเบ ชนะการเลือกตั้งรัฐสภา ภายใต้การดูแลของประเทศอังกฤษ ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1980 อย่างไรก็ตาม มูกาเบ มักถูกเรียกว่า เป็นตัวสร้างความขัดแย้งอยู่บ่อยครั้ง และในที่สุดก็ได้ออกกฎหมายพรรคเดียวขึ้นมาในประเทศของเขา และกลายเป็นประธานาธิบดีของซิมบับเวเมื่อปี 1987 โดยกฎหมายของเขา เป็นที่โด่งดังในการปราบปรามความรุนแรง จากปัญหาความยากจน และการว่างงานที่เพิ่มขึ้น เป็นการสนับสนุนให้นาย มอร์แกน สแวนจีราอี และพรรคฝ่ายค้านของเขามีโอกาศเคลื่อนไหวเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในปลายปี 2008 ได้มีข้อตกลงในการกระจายอำนาจจากการปกครองของมูกาเบ




อันดับ 1. "อับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอุด"
ตำแหน่ง: กษัตริย์แห่งซาอุดีอาระเบียอายุ: 86 ปีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 5 ปี
อับดุลเลาะห์ บิน อับดุล อาซิซ อัล ซาอุด เป็นหัวหน้าของเฮาส์ออฟซาอุด ราชวงศ์ที่ใช้ชื่อของตนตั้งเป็นชื่อประเทศซาอุดีอาระเบีย พระองค์ทรงมีภรรยา 4 คน บุตรชาย 7 คน และบุตรสาวอีก 15 คน พระองค์ยังเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศแห่งซาอุดิอาราเบียอีกด้วย พระองค์เป็นหนึ่งในผู้นำรัฐที่มั่งคั่งที่สุด ซึ่งพระองค์มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ แต่ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังเป็นแนวหน้าของประเทศมุสลิมนิกายสุหนี่ ศูนย์บ่มเพาะผู้นับถือศาสนาอิสลามจำนวนมาก ต่อมาพระองค์ทรงปฏิเสธการสนับสนุนการโจมตีอิรัก ภายใต้การนำทัพของสหรัฐฯ พระองค์มีความรับผิดชอบต่อวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพ โดยเสนอความคิดริเริ่มเรื่องการอยู่ร่วมกันของประเทศมุสลิม และประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ต่อสมัชชาสหประชาชาติเพื่อคลายความตึงเครียด ทำความเข้าใจกับคนอิสลาม และลัทธิความรุนแรง

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทั่วโลกแสดงความยินดี


''เจ้าชายวิลเลี่ยม'' ประกาศหมั้น ''มิดเดิลตัน'' ใช้แหวน ''เจ้าหญิงไดอาน่า'' 

จัดพิธีอภิเษกฯ ปีหน้า ทั่วโลกต่างแสดงความยินดีกับข่าวดีของสำนักพระราชวังบักกิงแฮม เจ้าชายวิลเลียม องค์รัชทายาท ลำดับที่ 2 แห่งราชวงศ์อังกฤษ จะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ นางสาว แคทเธอรีน มิดเดิลตัน คู่หมั้นที่คบหาดูใจมายายนาน 8 ปี  ในช่วงฤดูร้อนหรืออาจจะเป็นฤดูใบไม้ผลิปีหน้า ซึ่งทั้งสองมีอายุ 28 ปีเท่ากัน และได้หมั้นกันตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ระหว่างเดินทางไปพักผ่อนช่วงวันหยุด ที่ประเทศเคนยา


ทางด้านองค์รัชทายาทลำดับ 2 ของบัลลังก์กษัตริย์อังกฤษ ยอมรับว่าพระองค์ต้องรวบรวมความกล้าที่จะขอมือ มิดเดิลตัน ที่คบหามาตั้งแต่เรียนมหาวิทยาลัยเซนต์ แอนดรูว์ส เมื่อ 8 ปีก่อน ''เราวางแผนมาพักหนึ่งแล้ว แต่ใครก็ตามที่อยู่ภายใต้สถานการณ์นั้นย่อมรู้ดีว่าต้องอาศัยกำลังใจอย่างมหาศาลที่จะพาตัวเองไปสู่จุดนั้น เราวางแผนไว้แล้ว และจากนั้นรู้สึกว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมระหว่างเดินทางมาแอฟริกา ทุกอย่างสวยงามมาก เราเตรียมตัวเล็กๆ น้อย เพื่อจะแสดงให้เห็นมุมที่โรแมนติก''

                                   

เจ้าชายวิลเลี่ยม สารภาพว่าพระองค์เก็บแหวนหมั้นที่เป็นพลอยสีน้ำเงินขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยเพชรที่ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ พระบิดา ใช้หมั้น เจ้าหญิงไดอาน่า พระมารดา ไว้ที่เป้สะพายหลังเพื่อรอโอกาสที่เหมาะสม
''เราพกแหวนติดตัวไว้ในกระเป๋าเป้ราว 3 สัปดาห์ก่อนที่เราจะนำออกมา ทุกๆ แห่งที่เราเดินทางไปเราเก็บแหวนไว้ใกล้ตัวตลอดเพราะรู้ว่าสิ่งนี้หากเกิดหายไป เรารู้ว่าจะต้องมีเรื่องร้ายแรงมากมาย และเพราะเราวางแผนเอาไว้ ทุกอย่างถึงดำเนินไปด้วยดี พวกคุณคงเคยได้ยินเรื่องราวน่ากลัวมากมายเกี่ยวกับการขอแต่งงาน และทุกอย่างผิดพลาดอย่างเลวร้าย แต่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดีมากๆ และเราก็รู้สึกดีใจที่เธอตอบรับ''


''นี่เป็นแหวนหมั้นของพระมารดาของเรา แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับเรา และในตอนนี้การที่ เคท เป็นคนพิเศษสำหรับเราเช่นกัน คงจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่ทั้ง 2 คนจะได้อยู่ร่วมกัน มันเป็นวิธีการของเราที่จะทำให้แน่ใจว่าพระมารดาจะไม่ถูกลืมแม้แต่วันเดียว และยังเป็นความรู้สึกตื่นเต้น รวมทั้งความจริงที่ว่าเราจะได้ใช้ชีวิตที่เหลือร่วมกันตลอดไป''
ขณะเดียวกันสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระอัยยิกา และดยุค แห่งเอดินเบิร์ก พระอัยกา ของเจ้าชายวิลเลี่ยม ส่งข้อความแสดงความยินดีผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ ''พระราชินี และดยุค แห่งเอดินเบิร์ก รู้สึกปลาบปลื้มพระทัยกับข่าวการหมั้นของเจ้าชายวิลเลี่ยม และแคเธอรีน มิดเดิลตัน''



            

เจ้าชายวิลเลียม กับ นางสาวมิดเดิลตัน พบกันครั้งแรกเมื่อปี 2544 ที่มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์ในสกอตแลนด์ ระหว่างการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ด้วยกัน และเคยมีข่าวว่าทั้งคู้ได้เลิกรากันไปในช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อปี 2550 แต่ในที่สุดก็กลับมาคืนดีและคบหากันอีกครั้ง จนกระทั่งมีข่าวดีอย่างเป็นทางการ 






     

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผู้นำและภาวะผู้นำคือ..?

 

             ผู้นำคือใคร?
              คุณเคยสงสัยไหมว่า ทำไมสังคมมนุษย์จะต้องมีผู้นำ ไม่เพียงแค่มนุษย์แม้แต่สัตว์ก็ต่างมีผู้นำหรือที่เรารู้จักกันดีก็คือจ่าฝูงนั่นเอง คำที่เรียกแทนผู้นำนั้นมีหลายคำอย่างเช่น เจ้าป่า หัวหน้า ฯลฯ จะใช้คำแทนคำว่าผู้นำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่หรือสถานการณ์ 
                    เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์การทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ปัญหาที่เป็นที่สนใจของนักวิชาการและบุคคลทั่วไปอยู่ตรงที่ว่า ผู้นำทำอย่างไรหรือมีวิธีการนำอย่างไรจึงทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้ตามเกิดความผูกพันกับงานแล้วทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ ในขณะที่ผู้นำบางคนนำอย่างไร นอกจากผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เต็มใจในการปฏิบัติงานให้สำเร็จอย่างมประสิทธิภาพแล้ว ยังเกลียดชังและพร้อมที่จะร่วมกันขับไล่ผู้นำให้ไปจากองค์การ
        
                   ผู้นำ หมายถึง
                    เพื่อให้เข้าใจภาวะผู้นำ (Leadership) และผู้นำ (Leader) ดีขึ้น นักวิชาการหลายท่านจึงให้ความหมายคำว่า "ผู้นำ" แตกต่างกันไป ดังนี้ 
McFarland (1979:214-215) ผู้นำ   คือ บุคคลที่มีความ สามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการให้บรรลุเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ที่ ตั้งไว้ 
Huse (1978:227) ผู้นำ   คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ  
Yukl, (1989:3-4) ผู้นำ   คือ บุคคลที่มีอิทธิพล
สูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตาม 


 สมพงษ์  เกษมสิน (2519)  การที่ผู้นำใช้อิทธิพลและอำนาจหน้าที่ในความสัมพันธ์ซึ่งมีอยู่ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในสถานการณ์ต่างๆเพื่อปฏิบัติและอำนวยการ
ฟาริดา   อิบราฮิม (2537)   เป็นการใช้อำนาจกับผู้อื่นให้เกิดการปฏิบัติเพื่อความริเริ่มของกลุ่ม   เกิดผลงานตามเป้าหมาย
พนิดา   ดามาพงษ์   (2535)  ให้ความหมายของผู้นำว่ามีหลายแบบ คือ 
           (1)  เป็นศิลปในการทำให้ผู้อื่นยอมตาม  ทำให้ผู้อื่นเกิดความประทับใจเชื่อฟังภักดีและเกิดความร่วมมือ  
           (2) เป็นการใช้อิทธิพลทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดความร่วมมือไปสู่จุดมุ่งหมาย   
           (3) เป็นรูปแบบของการชักจูงใจให้ยอมทำตามโดยสมัครใจหรือสร้างแรงบันดาลใจให้ยอมรับ และ
     (4)   เป็นผลของการมีปฏิสัมพันธ์มีการกระตุ้นซึ่งกันและกันเพื่อไปสู่อุดมการณ์เดียวกันด้วยความสมัครใจ  ซึ่งความเป็นผู้นำเป็นความสามารถของบุคคลที่ทำให้ผู้อื่นยอมทำตามด้วยความสมัครใจ    เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายร่วมกัน
Hersey  and  Blanchard  (1993)  ให้ความหมายว่า เป็นกระบวนการที่ใช้อิทธิพลให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลพยายามปฏิบัติงานในหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดไว้
Greenberg  and  Baron (1995) กล่าวว่า เป็นความสามารถที่มีอิทธิพลต่อสมาชิกภายในกลุ่ม  ทำให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้     ซึ่งแหล่งที่มาของอิทธิพลมาจากตำแหน่งหน้าที่ภายในองค์การหรือภายนอกองค์การ
 กวี วงศ์พุฒ (2535: 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
   (1) ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง 
        (2) ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
        (3) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
        (4) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
        (5) ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ 

บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง 
        (1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
        (2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ
        (3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย 

ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา (2544) ผู้นำ หมายถึง ผู้บริหารผู้จัดการและเจ้าของหรือผู้ก่อตั้งองค์กร แต่จะไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านี้ จะมีความเป็นผู้นำ ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะยอมรับ และพร้อมที่จะปฏิบัติตาม เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายที่กำหนดขึ้นเสมอไป ทั้งนี้เพราะความเป็นผู้นำไม่ได้มาจากสถานะ หรือตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเท่านั้น หากแต่จะเกิดขึ้นได้จากคุณสมบัติและบุคลิกภาพความเป็นผู้นำของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ  นอกจากนี้การจะเป็นผู้นำได้จะต้องประกอบไปด้วย ความสามารถในการใช้อำนาจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของความรับผิดชอบและจริยธรรม อีกทั้งยังต้องเข้าใจเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความสามารถในการสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ และสามารถสร้างบรรยากาศในองค์การเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา
David Schwartz ได้ให้ความหมายของความเป็นผู้นำว่า หมายถึงศิลปะของการบอกชี้แนะผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติตามหน้าที่ด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้น 
George R. Terry
วความเป็นผู้นำ หมายถึงกิจกรรมของการใช้อิทธิพลต่อบุคคลหรือผู้ร่วมงานให้พยายามปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจเพื่อวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือองค์กร
Dalton E. McFarland
วความเป็นผู้นำ หมายถึงความสามารถที่จะชี้แนะสั่งการหรืออำนวยการหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลอื่นให้มุ่งไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
John M. Ivancevich; Andrew D. Szilagyi, Jr.และMarc J. Wallence
., ความเป็นผู้นำหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 คน หรือมากกว่า 2 คน ที่บุคคลหนึ่ง (ในจำนวนนั้น) พยายามที่จะมีอิทธิพลต่ออีกบุคคลหนึ่ง (หรือต่อกลุ่ม) เพื่อให้เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กรบรรลุผล
                   ผู้นำที่จะสามารถจูงใจคนงานได้นั้น จะต้องเป็นผู้นำที่สามารถให้การตอบสนองแก่คนงานได้แบบของคนงานมากตามสมควร วิธีการบริหารที่สำคัญต่อการจูงใจคนงานก็คือ การให้มีส่วนร่วมในการบริหารโดยยึดถือวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของพฤติกรรมของผู้นำก็ควรจะเป็นแบบที่ค่อนมาทางประชาธิปไตย หรือที่จะมีการให้ความสำคัญและให้อิสระแก่องค์การ การให้มีส่วนร่วมในการบริหารไม่ว่าจะโดยให้เพียงร่วมปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นหรือร่วมตัดสินใจก็ตาม จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้นำได้มีพฤติกรรมที่ค่อนมาในทางประชาธิปไตยแล้วเท่านั้น คุณลักษณะผู้นำเช่นที่กล่าวนี้ จะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการจูงใจคนงานตามแนวของมนุษยสัมพันธ์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว (ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร,2546).
ในการพิจารณาถึงผู้นำที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์ส่วนประกอบความเป็นมาของผู้นำว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง นักทฤษฎีบางคนเชื่อว่า พฤติกรรมของผู้นำที่จะออกบทบาทได้ดีนั้นขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของบุคลิกส่วนตัว บางคนกลับเชื่อว่า ขึ้นอยู่กับที่จะต้องจัดให้เหมาะสมกับลักษณะคนและกลุ่มคนที่เขาจะบังคับบัญชา แต่บางคนกลับเห็นว่า ต้องจัดโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมมากกว่า สำหรับการหาข้อยุติว่าผู้นำที่ดีที่สุดควรจะเป็นอย่างไรนั้นในปัจจุบันยังหาข้อยุติไม่ได้ ทั้งนี้เพราะไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้ว่า การพิจารณาตามวิธีการใดจะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด และขณะเดียวกันการพิจารณาจากแต่ละวิธีต่างก็มีประโยชน์และข้อเท็จจริงจากด้านใดด้านหนึ่งเสมอ ทั้งคุณลักษณะบุคลิกภาพของผู้นำ ลักษณะของผู้ตามและของกลุ่ม รวมตลอดทั้งสภาพการณ์ต่างก็เป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อการเป็นผู้นำที่ดีด้วยกัน การพิจารณากำหนดให้ผู้นำสามารถเป็นผู้นำที่ดี และมีประสิทธิภาพในการชักจูงกลุ่ม จึงต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ด้านมาประกอบกันเสมอ
นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่า  การเป็นผู้นำที่ดีนั้นสำคัญที่บุคลิกภาพส่วนตัวของผู้นำเป็นสำคัญที่สุด บุคลิกภาพ ที่เหมาะสม เช่น ท่าทางดี พูดจาเก่ง เข้าคนได้ดี ฉลาด โน้มน้าวใจคนเป็น หรืออื่น ๆ จะเป็นคุณสมบัติที่จะช่วยให้สามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ความเป็นผู้นำที่ดีนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของบุคลิกภาพของคนนั้น ๆ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากพิจารณาดูถึงความสัมพันธ์ของการใช้บทบาทผู้นำที่เกี่ยวข้องไปถึงผู้ตามแล้ว จะโต้แย้งได้ว่า ลักษณะบุคลิกภาพมิได้เป็นสาระสำคัญของการเป็นผู้นำ ถึงแม้ผู้นำจะเป็นคนมีความสามารถดีเพียงใด หากผู้ตามในกลุ่มไม่พร้อมจะให้จูงใจได้ผลก็ย่อมจะตรงข้ามได้เสมอ ความเป็นจริงผู้นำจึงขึ้นอยู่กับผู้ตาม หรือขึ้นอยู่กับคนในกลุ่มที่จะชักนำอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน                            
ส่วนคำว่า "ภาวะผู้นำ" หมายถึงเป็นศิลปะที่จำเป็นและสำคัญยิ่งต่อนักบริหารที่จะนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ ผู้นำเป็นผู้ตัดสินใจ กำหนดส่วนคำว่าปัญหาวางแผนและรับผิดชอบต่อความอยู่รอดหรือการพัฒนาขององค์การเป็นกระบวนการที่จะมีอิทธิพลเหนือคนกระตุ้นให้คนร่วมมือหรือปฏิบัติงานตามผู้นำนั้นด้วยความศรัทธานับถือ และด้วยความเต็มใจอย่างประสานสัมพันธ์กันจนงานสำเร็จบรรลุเป้าหมายของกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง


                   



                   ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ (Leadership)
เป็นกระบวนการที่ผู้บริหารจะให้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของ ผู้อื่น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานบรรลุจุดหมายขององค์การ จากนิยามดังกล่าว มีคำถามว่าผู้บริหารจะทำให้ตนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนอื่นได้อย่างไร คำตอบก็คือ อำนาจ (power) (Bartol & others 1998) อำนาจนี้มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน แต่โดยทั่วไปมีมาจาก 6 แหล่งที่สำคัญดังนี้ คือ (French & Raven 1959 อ้างใน Bartol & others) 


                   ผู้นำจึงต้องมีทักษะ (Skill)   เป็นความชำนาญของบุคคลในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ (ไขแสง , 2536)
1.  ความสามารถพื้นฐานเกี่ยวกับ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะเฉพาะพฤติกรรม เพื่อสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ผู้นำต้องเผชิญ ประกอบด้วย
1.1    การรู้จักตนและการประเมินตนเอง (Self  awareness  and  self  evaluation skills) ได้แก่
ความกระตือรือร้น  การไม่หยุดนิ่ง  การมีทิศทางของตนเอง  วิสัยทัศน์  ความยืดหยุ่น  การคิดสร้างสรรค์  และความรับผิดชอบในงานของตนเอง
1.2    การพูดและการสื่อสาร (Communication)
1.3    พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness)
1.4    เทคนิคการบริหารเวลา (Time management)
2.      ความสามารถในการประยุกต์ความสามารถส่วนบุคคลในการเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ได้แก่
2.1    การบริหารจัดการ
P (Planning)  การวางแผน  การกำหนดเป้าหมาย  การกำหนดนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน
O (Organization)  การจัดองค์การ และการจัดการในหน่วย
S  (Staffing)  การบริหารงานบุคคล
D  (Directing)  การอำนวยการ
Co (Cooperating)  การร่วมมือ
R  (Report) การรายงาน
B  (Budgeting)  การจัดการการเงิน
2.2  การจัดการทรัพยากรมนุษย์  ได้แก่ การจูงใจ การแก้ไขความขัดแย้ง  การจัดการความเครียด  การใช้อำนาจและการให้อำนาจ  การให้อิสระและการสั่งงาน  การพัฒนาการศึกษา การฝึกอบรม และการติชม
3.      การประสานความร่วมมือ (Collaboration)
4.      การใช้กระบวนการวิจัย
5.      การเผยแพร่ข้อมูล
6.      การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
7.      การเปลี่ยนแปลง
8.      การเป็นตัวแทน (Representation)
9.      การเป็นแบบอย่าง (Role  model)
จากคุณลักษณะของภาวะผู้นำ  สามารถแยกตามตัวอักษร   LEADERSHIP   ได้ดังนี้
L =   Love  ความรัก  หมายถึง   ผู้บังคับบัญชาหรือผู้นำต้องเริ่มด้วยการมีความรักเสียก่อน คือ รักในหน้าที่การงาน  รักผู้ร่วมงาน  รักผู้ใต้บังคับบัญชา  รักความก้าวหน้า  รักความยุติธรรม
E =  Education   and  Experience  หมายถึง  คุณสมบัติทางด้านการศึกษาและประสบการณ์ที่ดี เป็นแบบอย่างและสามารถสั่งสอนแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาได้ถูกต้อง
A = Adaptability  หมายถึง  ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
D =  Decisiveness  หมายถึง  มีความสามารถในการพิจารณาตัดสอนใจได้รวดเร็ว  ถูกต้อง  แน่นอน  กล้าได้กล้าเสีย
 E =  Enthusiasm  ความกระตือรือร้น มีความตั้งอกตั้งใจในการปฏิบัติงานและสนับสนุนชักนำ (Encourage) ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างจริงจังด้วย
R  =   Responsibility  เป็นผู้มีความรับผิดชอบทั้งในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา  ไม่ทอดทิ้งหรือปัดความรับผิดชอบให้ผู้อื่น
S =  Sacrifice  and sincere  ต้องเป็นผู้เสียสละเพื่อส่วนรวม จริงใจ ซึ่งจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความเคารพนับถือ
H =  Harmonize  เป็นผู้มีความนุ่มนวล ผ่อนปรน  เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีต่อกันในหมู่ผู้ร่วมงาน  อาจรวมถึงการถ่อมตัว (Humble)  ตามกาลเทศะอันควร
I =  Intellectual  capacity  เป็นผู้มีความเฉลียวฉลาด  มีไหวพริบ  ทันคนทันต่อเหตุการณ์  เป็นผู้รอบรู้  และมีความคิดริเริ่ม
P =  Persuasiveness  เป็นผู้มีศิลปในการจูงใจคน  ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้หลักจิตวิทยา(Psychology) และต้องมีอำนาจ (Power) ในตัวเองพอสมควร


บรรณานุกรม


ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร.(2546).การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ.กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์   มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สันติวงษ์.(2538).องค์การและการบริหาร การศึกษาการจัดการแผนใหม่= Organization    and
management.กรุงเทพฯ ไทยวัฒนาพาณิช.
สหัสโรจน์ โรจน์เมธา.(2544).Hi-speed MBA Vol.2.กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.